CDIC 2023

[Guest Post] บล็อกเชน เป็นอะไรมากกว่าแค่ Crypto

เมื่อพูดถึงคำว่า Blockchain (บล็อกเชน) นั้น คนส่วนมากจะนึกถึงสกุลเงินดิจิทัล หรือคริปโตเคอเรนซี่ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้การแลกเปลี่ยนของที่มีมูลค่าเป็นไปได้ง่ายขึ้น

ในอดีตนั้น ถ้าเราจะแลกเปลี่ยนของที่มีมูลค่านั้นต้องมีตัวกลาง ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ สถาบันการเงินที่จะมาทำหน้าที่ให้เรามั่นใจว่า หมายเลขบัตรเครดิตของเราจะปลอดภัยเมื่อทำธุรกรรมทางการเงินนั้น

แต่บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาเพื่อตัดตัวกลางออก ทำให้เราสามารถแลกเปลี่ยนของที่มีมูลค่ากับอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยตรง ทำให้คนเข้าถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีต และทำให้คนทั่วไปเข้าถึงคริปโตเคอเรนซี่ได้ง่ายขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ดังนั้นหลายคนจึงแยกความแตกต่างของบล็อกเชนและคริปโตเคอเรนซี่ออกจากกันไม่ได้

          แต่เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติของบล็อกเชนจริง ๆ นั้น พบว่าบล็อกเชนจะเป็นอนาคตของธุรกิจเกือบทุกประเภทในโลก โดยเฉพาะธุรกิจทางการเงินที่จะเห็นได้ชัดที่สุดในเวลานี้ เพราะเมื่อเราใช้บล็อกเชน เราก็จะมั่นใจได้ว่า ทุกธุรกรรมที่เราทำผ่านบล็อกเชนนั้น จะปลอดภัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่มีใครสามารถกลับมาแก้ไขมันได้

          จึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมผู้เชี่ยวชาญทางการเงินถึงได้มองว่าบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่จะ disrupt ตลาดการเงินที่สำคัญ และจะเป็น Fintech ที่สำคัญอันดับต้น ๆ ในอนาคตอย่างแน่นอน

          กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว และเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคนในเวลานี้ คือ เมื่อใช้แอปเป๋าตังของรัฐบาล ในนั้นจะมีเมนูวอลเล็ตสบม. ซึ่งเป็นเมนูการซื้อพันธบัตรที่บริษัทบล็อคฟินท์ร่วมกับทีมเทคนิคตอนต้น ทำพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น วอลเล็ต สบม.(สะสมบอนด์มั่งคั่ง) หรือ พันธบัตรดิจิทัลครั้งแรกของเมืองไทยโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนร่วมด้วย

          ด้วยเมนูดังกล่าว ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการซื้อพันธบัตรได้ง่ายขึ้น ไม่มีการกำหนดจำนวนซื้อขั้นต่ำ หรือช่วงเวลาในการซื้อ ซึ่งในอดีตจะไม่สามารถซื้อพันธบัตรแบบไร้ข้อจำกัดแบบนี้ เนื่องจากใน 1 ธุรกรรมของการซื้อพันธบัตรนั้นมีต้นทุนที่สูงกว่า 1 บาท ทำให้การซื้อพันธบัตรต้องมีกำหนดจำนวนขั้นต่ำไว้  แต่ในปัจจุบัน ด้วยคุณสมบัติของบล็อกเชน ร่วมกับการพัฒนาเทคโนโลยีของบริษัท บล็อคฟินท์ ทำให้ธุรกรรมทางการเงินที่เคยเป็นไปไม่ได้ในอดีตสามารถเป็นไปได้ในปัจจุบัน  

ในอนาคตอันใกล้นี้ บล็อกเชนจะพัฒนาระบบสถาบันการเงินการธนาคารและธุรกิจที่เกี่ยวข้องให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากโซลูชั่นที่บริษัทบล็อคฟินท์นำเสนอในขณะนี้ ในรูปแบบของ Thinker series เพื่อมาเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการภายในของธนาคาร (Thinker Bank) พันธบัตร (Thinker Bond) การออกแบบและพิจารณาสินเชื่อ (Thinker LOS) การออกแบบและพิจารณาประกันภัยและประกันชีวิต (Thinker Insurance) และ Thinker Wise ผู้ช่วยในการตัดสินใจแบบอัตโนมัติ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ต้นทุนทางธุรกรรมทางการเงินและธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีอัตราที่ถูกลง โดยจะสามารถทำธุรกรรมหลาย ๆ ประเภทผ่านระบบดิจิทัลได้และรวดเร็วขึ้นกว่าระบบปัจจุบัน รวมถึงเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ท้ายที่สุด เราอาจจะไม่ต้องการตัวกลางที่เป็นสถาบันการเงิน หรือตัวแทนอีกต่อไป จำนวนสาขาของธนาคารและบริษัทต่าง ๆ จะลดลงและเปลี่ยนรูปแบบเป็นระบบดิจิทัลมากขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจากบริษัท บล็อคฟินท์ จำกัด

 

เกี่ยวกับบริษัท บล็อคฟินท์ จำกัด

บล็อคฟินท์ (BlockFint) ฟินเทคสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2563 เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างบล็อกเชคและฟินเทค มาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสร้างโซลูชั่นใหม่ ๆ สำหรับตลาดการเงินการธนาคารและอุตสาหกรรมพลังงาน สู่การเป็นระบบดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยมีสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ Thinker Series โซลูชั่นที่ช่วยในปฏิวัติระบบปฏิบัติการให้กับสถาบันการเงิน, Gideon แพลทฟอร์มสำหรับซื้อขายพลังงาน (Energy Trading) โดยที่ผ่านมา บริษัทฯได้มีผลงานในการเป็นผู้ออกแบบการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID – NDID) ที่นิยมใช้กันในแวดวงการเงินการธนาคาร อีกทั้งยังร่วมกับทีมเทคนิคตอนต้น ทำพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น วอลเล็ต สบม.(สะสมบอนด์มั่งคั่ง) หรือ พันธบัตรดิจิทัลครั้งแรกของเมืองไทยโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนร่วมด้วย  ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่า (Company Valuation) อยู่ที่ 800 ล้านบาท โดยสามารถระดมทุนครั้งแรก (Angle round) ได้ถึง 36 ล้านบาท


About Maylada

Check Also

Fintech Festival Asia 2023 เน้นบทบาทของ AI และระบบชำระเงินดิจิทัลสำหรับธุรกิจฟินเทค [Guest Post]

ระบบชำระเงินดิจิทัลและ AI คือเทรนด์ระดับโลกที่มาแรงในปี 2566

บิทคับ อะคาเดมี ร่วมกับ โรงเรียน อัสสัมชัญ (บางรัก) เสริมทักษะด้านเทคโนโลยี [Guest Post]

ผ่านโครงการ “เปิดโลกกิจกรรมการเรียนรู้ Metaverse with Blockchain”