นักวิจัยสาธิตการโจมตี Ransomware กับกล้อง DSLR

นักวิจัยจาก Check Point ได้สาธิตวีดีโอการใช้ช่องโหว่ระดับ Implement ในโปรโตคอล PTP ของกล้อง DSLR ยี่ห้อ Canon ซึ่งทำให้นักวิจัยสามารถเข้าไปทำการเข้ารหัสไฟล์รูปในกล้องได้

credit : securityweek

โปรโตคอล PTP หรือ Picture Transfer Protocol ถูกใช้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างกล้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักวิจัยได้ไปพบว่าการ Implement โปรโตคอลนี้ใน Canon นั้นมีช่องโหว่ โดยวิธีการคือนักวิจัยไปไล่ดู PTP Command ทั้งหมดจนค้นพบช่องโหว่ 6 รายการที่อาจนำไปสู่การลอบรันโค้น เข้าควบคุมเครื่อง และยอมให้อัปเดตเฟิร์มแวร์ผ่านทางไกลโดยไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ สำหรับช่องโหว่มีดังนี้

  • CVE-2019-5994 – Buffer Overflow ใน SendObjectInfo (opcode 0x100C)
  • CVE-2019-5998 – Buffer Overflow ใน NotifyBtStatus (opcode 0x91F9C) (Bluetooth)
  • CVE-2019-5999 – Buffer Overflow ใน BLERequest (opcode 0x914C)  (Bluetooth)
  • CVE-2019-6000 – Buffer Overflow ใน SendHostInfo (opcode 0x91E4)
  • CVE-2019-6001 – Buffer Overflow ใน SetAdapterBatteryReport (opcode 0x91FD)
  • CVE-2019-5995 – Silent malicious Firmware Update

ทั้งนี้การใช้ช่องโหว่เกิดขึ้นได้ 2 ทางคือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ USB กับกล้องหรือตั้ง Rouge AP ให้กล้องมาเชื่อมต่อ โดยนักวิจัยได้สาธิตวีดีโอโจมตีกล้อง DSLR EoS 80 D ด้วย Ransomware ไว้ตามด้านล่าง พร้อมกันนี้ยังเชื่อว่ากล้องของค่ายอื่นก็มีโอกาสมีช่องโหว่ลักษณะคล้ายกันด้วย อย่างไรก็ตามทาง Canon ได้ออกแพตช์แล้วเมื่ออาทิตย์ก่อนเป็นเฟิร์มแวร์เวอร์ชัน 1.0.3 รวมถึงแนะวิธีบรรเทาปัญหาว่าหากลูกค้าที่ไม่ได้ใช้ฟีเจอร์นี้ก็ปิดไปเสียและหากต้อง Transfer ไฟล์ก็ให้แน่ใจว่า AP หรือคอมเครื่องนั้นปลอดภัย

ที่มา :  https://www.bleepingcomputer.com/news/security/canon-dslr-camera-infected-with-ransomware-over-the-air/ และ  https://www.securityweek.com/researchers-demonstrate-ransomware-attack-dslr-camera


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

[Black Hat Asia 2023] ทำลายห่วงโซ่: มุมมองของคนวงในเกี่ยวกับช่องโหว่ของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์

ยินดีต้อนรับสู่มุมมองของคนวงในเกี่ยวกับช่องโหว่ของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์ หัวข้อนี้ถูกนำเสนอโดยนักวิจัยด้านความปลอดภัยชื่อ Yakir Kadkoda และ Ilay Goldman จาก Aqua Security ซึ่งมีประสบการณ์มากมายในงานด้าน Red Team พวกเขาให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับช่องโหว่ที่แฝงตัวอยู่ในช่วงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เผยถึงความเสี่ยงที่องค์กรต้องเผชิญในการรักษาความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์

[Black Hat Asia 2023] สรุป Keynote วันที่ 1 เรื่อง “เตรียมตัวสำหรับการเดินทางอันยาวนานเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล”

ข้อมูลถือเป็นปัจจัยที่ 5 ของการผลิต และความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ก็ได้รับการจัดอันดับให้มีความสำคัญสูงสุดโดยรัฐบาลทั่วโลก ในประเทศจีน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยข้อมูล เช่น “กฎหมายความปลอดภัยของข้อมูล” และ “กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ได้รับการประกาศใช้และมีผลบังคับใช้ในปี 2565 …