CDIC 2023

เครื่องบินพลังงานไฟฟ้ากำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว

ในปี 2008 เป็นการถือกำเนิดใหม่ของมอเตอร์พาหนะพลังงานไฟฟ้าด้วยอันเนื่องจากสถานการณ์ของราคาน้ำมันและในปีนี้เป็นโอกาสอันดีของการหวนกลับมาตรึกตรองเรื่องของการนำพลังงานไฟฟ้าไปใช้กับเครื่องบิน

credit : wikipedia.com

30 ปีให้หลังจากสถิติบินรอบโลกโดยไม่หยุดเติมเชื้อเพลิงในปี 1986 มีโปรเจ็คที่ชื่อ Solar Impulse 2 ได้ทดลองใช้เครื่องบินพลังงานไฟฟ้าบินรอบโลกสำเร็จในปี 2016 กินเวลากว่า 16 เดือน จึงสามารถจอดลงจุดเริ่มได้ที่ อาบูดาบี ความน่าสนใจคือเครื่องบินนี้ไม่มีการเผาพลาญเชื้อเพลิงและปล่อยพลังงานออกมาด้วยการใช้แผ่นแสงโซล่าร์ มอเตอร์พลังงานไฟฟ้า และ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 41 kWh จำนวน 4 ลูก จากนั้นเครื่องบินลำนี้ก็ได้จุดประกายความหวังให้กับการพัฒนาเครื่องบินพลังงานไฟฟ้าในเวลาต่อมา

ในแง่ของประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับโลกคือจะเป็นการช่วยในการลดการปล่อยพลังงานเรือนกระจกของภาคอากาศยานลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนในมุมของฝั่งผู้ใช้งานเองก็หวังที่ให้ตั๋วราคาถูกลง เสียงเบาลง และสามารถบินในระดับสูงขึ้นได้ ซึ่งด้วยกลไกของพลังงานไฟฟ้าเครื่องบินจะสามารถรักษาประสิทธิภาพได้ที่ระดับสูงที่มีแรงต้านอากาศน้อยลงทำให้ใช้พลังงานน้อยลงด้วยความเร็วเท่ากันเทียบกับเครื่องยนต์ปกติ

แต่เรื่องก็ไม่ง่ายอย่างที่ฝันเพราะมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องแก้เสียก่อน หลักๆ เลยคือเรื่องของแบตเตอรี่ ซึ่งถ้าดูตามอัตราการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้แล้วคาดว่าการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีเครื่องยนต์ไฟฟ้าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงภายในปี 2030 โดยถ้าเทียบกันตอนนี้ด้วยปริมาณเท่ากับกับระบบน้ำมัน ระบบเก่ายังสามารถสร้างพลังงานได้มากกว่าแบตเตอรี่ถึง 43 เท่า อย่างไรก็ตามการใช้งานการอากาศยานในสเกลเล็กยังคงเป็นไปได้หากสามารถพัฒนาความหนาแน่นของประสิทธิภาพแบตเตอรี่ได้ประมาณ 5-8 เท่าของปัจจุบัน

อีกปัญหาหนึ่งที่ต้องแก้คือเรื่องของระบบทำความเย็นที่ต้องใช้พลังงานสูง วัสดุที่ต้องใช้ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการนำความร้อนและเรื่องของน้ำหนักของระบบ ปัจจุบันก็มีผู้เล่นหลายรายในตลาด เช่น

  • Zunum Aero ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Boeing และ JetBlue
  • Airbus E-Fan X โดย Rolls-Royce และ Siement ที่ใช้ต้นแบบมาจาก Airbus E-fan
  • Eviation Alice ธุรกิจอากาศยานสัญชาติอิสราเอล
  • Wright Electric เป็น Startup หน้าใหม่ในปี 2016 ที่มุ่งมั่นสร้างธุรกิจนี้ให้เกิดขึ้นในการบินจริงด้วยแบตเตอรี่และระยะทางไม่เกิน 300 ไมล์
  • Ampaire เป็น Startup อีกรายที่วางแผนบินด้วยผู้โดยสาร 7-9 คน ระยะทางประมาณ 100 ไมล์แต่หวังใช้เทคนิคการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่
  • Joby Aviation บริษัทที่พัฒนามอเตอร์พลังงานไฟฟ้าของตนเองและจากรายงานพบว่ากำลังพัฒนายานพาหนะการบินของผู้โดยสาร 5 คนในระยะ 150 ไมล์ในการชาร์จ 1 ครั้งซึ่งอาจจะนำมาใช้จริงได้ในอนาคตกับธุรกิจการบิน

ที่มา : https://techcrunch.com/2018/07/08/the-electric-aircraft-is-taking-off/


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

รัฐบาลไทยและไมโครซอฟท์ ประกาศความร่วมมือ เพื่อนำประเทศไทยมุ่งสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI [Guest Post]

รัฐบาลไทยและไมโครซอฟท์ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้วิสัยทัศน์ในการยกระดับประเทศไทยให้มุ่งสู่ก้าวต่อไปกับนวัตกรรมดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยข้อตกลงฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะนำเทคโนโลยีคลาวด์และ AI ที่เปี่ยมประสิทธิภาพจากไมโครซอฟท์มาเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศไทย สร้างโอกาสใหม่ๆ ในการจ้างงานที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย และปูทางให้ประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ทั้งในด้านนวัตกรรมดิจิทัลและความยั่งยืน

ตอกย้ำความยิ่งใหญ่กับงาน Corporate Innovation Summit 2023 งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

จบลงไปแล้วกับงาน CIS 2023 – Corporate Innovation Summit งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบลงมือทำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย จัดโดย RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร เมื่อวันที่ 14 – 15 …