[Guest Post] ดีลอยท์ เผยรายงานแนวโน้ม “ดิจิทัลไลฟ์” ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุม INCLUSION Fintech จัดโดยแอนท์ กรุ๊ป

ดีลอยท์ (Deloitte) เปิดเผยรายงาน “คลื่นลูกใหม่” แนวโน้มดิจิทัลไลฟ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ <“The Next Wave” Emerging Digital Life in South and Southeast Asia > ระหว่างการประชุม INCLUSION Fintech Conference ซึ่งจัดโดยแอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) และอาลีเพย์ (Alipay) มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการหารือร่วมกันในระดับโลกในการสร้างโลกแห่งอนาคตที่มีความเท่าเทียมกัน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนมากยิ่งขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล 

จากการสำรวจความคิดเห็นอย่างกว้างขวางจากกลุ่มคนที่อายุต่างกันใน 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย บังคลาเทศ และปากีสถาน รายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคอายุ 21 ถึง 40 ปีเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการปรับใช้รูปแบบการใช้ชีวิตดิจิทัลไลฟ์อย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

เทย์เลอร์ แลม หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคมของดีลอยท์ ไชน่า เป็นวิทยากรในการสัมมนาวันที่ 2 ในหัวข้อ INCLUSION กล่าวว่า “เศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาและขยายตัวในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็น ‘คลื่นลูกใหม่’ ที่จะเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต  ภูมิภาคดังกล่าวมีประชากรจำนวนมากโดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ (Unbanked) และกลุ่มคนที่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้บ้าง (Underbanked) ทั้งยังมีการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลาย และรัฐบาลของแต่ละประเทศก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ช่วยให้ภูมิภาคดังกล่าวมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งช่วยเร่งการปรับใช้บริการชำระเงินดิจิทัล รวมไปถึงการขยายตัวของรูปแบบการใช้ชีวิตดิจิทัลไลฟ์ในภูมิภาคนี้”

“จากผลการศึกษาของเรา พบว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศเหล่านี้มีศักยภาพที่สูงมากในการพัฒนา และการให้บริการอย่างทั่วถึง รวมถึงความสะดวก ปลอดภัย และยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19”

ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญสำหรับภูมิภาคนี้:

  1. บริการชำระเงินดิจิทัล หรือดิจิทัลเพย์เมนต์ (Digital Payment) เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสร้างและเชื่อมดิจิทัลไลฟ์ให้กับผู้บริโภค โดยก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงระดับรากฐานต่อรูปแบบการใช้ชีวิต การทำงาน และความบันเทิง

ภาพรวมบริการชำระเงินดิจิทัลในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

  • นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ราว 78% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตนเองได้พบเห็นการใช้บริการดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น โดย 41% ชี้ว่ามียอดการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมาก
    • บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็น 3 ประเทศที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นสูงสุด
  • สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเป็น 3 ประเทศที่มีการใช้บริการชำระเงินดิจิทัลอย่างคึกคักมากที่สุด
  • 3 สถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการชำระเงินดิจิทัลมากที่สุด ได้แก่:
    • อี-คอมเมิร์ซ/เอ็ม-คอมเมิร์ซ (70%)
    • การโอนเงินระหว่างบุคคล (69%)
    • การซื้อสินค้าในร้าน (62%)
  • ธุรกรรมดิจิทัลเพย์เมนต์ส่วนใหญ่มีมูลค่าไม่มากนัก โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 67% ระบุว่ามูลค่าเฉลี่ยต่อธุรกรรมน้อยกว่า 30 ดอลลาร์ต่อคน (หรือน้อยกว่า 900 บาท) ซึ่งนั่นหมายความว่าบริการชำระเงินดิจิทัลได้แทรกซึมเข้าสู่ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค และกลายเป็นบริการกระแสหลักที่ตอบโจทย์ความต้องการในแต่ละวันของผู้บริโภค
  • เหตุผลหลัก 3 ข้อที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการอี-วอลเล็ต (E-wallet) คือ:
    • ความสะดวก (77%)
    • ไร้การสัมผัส (69%)
    • สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมและโปรโมชั่นพิเศษ (9%) 

 

 2. ผู้บริโภคในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้บริการดิจิทัลใน   สถานการณ์ที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน

สถานการณ์หลักที่มีการใช้บริการชำระเงินดิจิทัลในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

    1.  
  • 5 โมบายล์แอพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่ผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ ได้แก่:
    • ความบันเทิง
      • โซเชียลมีเดีย (79%)
      • การสตรีมเพลง/วิดีโอ (50%)
    • อี-คอมเมิร์ซ/เอ็ม-คอมเมิร์ซ (74%)
      • ความสะดวก ผลิตภัณฑ์หลากหลาย และราคาถูก คือเหตุผลหลัก 3 ข้อที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์
    • บริการในชีวิตประจำวัน (59%)
      • เรียกรถโดยสาร อ่านข่าว/หนังสือ และการทำงานร่วมกันในที่ทำงาน คือ 3 โมบายล์แอพที่ใช้งานบ่อยที่สุดในหมวดหมู่นี้
    • บริการด้านการเงิน (45%)
      • โมบายล์แบงค์กิ้ง และดิจิทัลเพย์เมนต์ เป็นโมบายล์แอพที่ได้รับการใช้งานมากที่สุดในหมวดหมู่นี้

3. ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอนาคตทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่สดใส โดยเป็นผลมาจากการปรับใช้บริการชำระเงินดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นและความหลากหลายของสถานการณ์ดิจิทัลไลฟ์ในชีวิตประจำวัน

ผู้นำด้านดิจิทัลไลฟ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ดัชนีดิจิทัลไลฟ์ (Digital Life Index) ระดับภูมิภาคได้พัฒนาโดยอ้างอิงข้อมูลการศึกษาและชุดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ความนิยมในการใช้มือถือ ความแพร่หลายและการใช้อินเทอร์เน็ต การชำระเงินดิจิทัล การพัฒนาของอี-คอมเมิร์ซ การมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดีย และการสนับสนุนจากภาครัฐ

  • สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียคือ “ผู้นำด้านดิจิทัลไลฟ์” (Digital Life Leader) โดยอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในทุกค่าพารามิเตอร์
  • ประเทศไทย และฟิลิปปินส์มีความโดดเด่นในฐานะ Digital Life Follower”
    • ความนิยมในการใช้มือถือของประเทศไทยจัดอยู่ในระดับที่สูง รวมถึงการมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดีย การพัฒนาของบริการชำระเงินดิจิทัล และอี-คอมเมิร์ซ
    • ฟิลิปปินส์เป็นผู้นำในเรื่องของการปรับใช้บริการชำระเงินดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโอนเงินระหว่างบุคคล และอุตสาหกรรมเกม
  • อินเดียจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มี “ศักยภาพด้านดิจิทัลไลฟ์” (Digital Life Potential) โดยเป็นผู้นำในด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้
  • บังคลาเทศและปากีสถานจัดว่าอยู่ในกลุ่ม “ผู้ตามหลังด้านดิจิทัลไลฟ์” (Digital Life Catcher)

รายงานฉบับนี้จัดทำโดยดีลอยท์ ภายใต้ความร่วมมือกับ INCLUSION Fintech Conference โดยการประชุมดังกล่าวได้รับความสนใจจากองค์กรชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการในแวดวงการเงินและเทคโนโลยี ซึ่งร่วมกันหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระดับโลกและการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการเงิน เศรษฐกิจ การค้า และสิ่งแวดล้อม

 

เกี่ยวกับดีลอยท์ (Deloitte)

ดีลอยท์ (Deloitte) คือ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ จำกัด (Deloitte Touche Tohmatsu Limited หรือ “DTTL”) รวมถึงเครือข่ายบริษัทในเครือทั่วโลก และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง (รวมเรียกว่า “องค์กรดีลอยท์”)  ทั้งนี้ DTTL (หรือ “Deloitte Global”) และบริษัทในเครือและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดถือเป็นนิติบุคคลอิสระที่แยกออกจากกันในทางกฎหมาย ซึ่งไม่สามารถผูกพันหรือสร้างพันธะกรณีต่อกันในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลที่สาม  DTTL และบริษัทในเครือและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ละแห่งของ DTTL รับผิดชอบต่อการกระทำและการละเว้นของตนเองเท่านั้น ไม่ใช่ของกันและกัน  DTTL ไม่ได้ให้บริการแก่ลูกค้า  กรุณาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.deloitte.com/about

ดีลอยท์เป็นผู้นำระดับโลกด้านบริการสอบบัญชีและการรับรอง บริการที่ปรึกษา การให้คำแนะนำทางการเงิน การให้คำแนะนำเรื่องความเสี่ยง ภาษี และบริการที่เกี่ยวข้อง  เครือข่ายระดับโลกของเราประกอบด้วยบริษัทในเครือและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องในกว่า 150 ประเทศ (รวมเรียกว่า “องค์กรดีลอยท์”) ให้บริการแก่บริษัทชั้นนำสี่ในห้าแห่งที่ติดอันดับ Fortune Global 500®  อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของบุคลากรราว 312,000 คนของดีลอยท์ ซึ่งส่งผลกระทบในเรื่องสำคัญๆ ได้ที่เว็บไซต์ www.deloitte.com

บริษัท ดีลอยท์ เอเชีย แปซิฟิก จำกัด (Deloitte Asia Pacific Limited) เป็นบริษัทจำกัดภายใต้การค้ำประกันและเป็นบริษัทในเครือของ DTTL  ทั้งนี้ สมาชิกของดีลอยท์ เอเชีย แปซิฟิก และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ละแห่งถือเป็นนิติบุคคลอิสระที่แยกออกจากกัน ให้บริการจากกว่า 100 เมืองใหญ่ทั่วภูมิภาค รวมถึงโอ๊คแลนด์ กรุงเทพฯ ปักกิ่ง ฮานอย ฮ่องกง จาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ มะนิลา เมลเบิร์น โอซากา โซล เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ ซิดนีย์ ไทเป และโตเกียว

แบรนด์ดีลอยท์เข้าสู่ตลาดของจีนเมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยเปิดสำนักงานในเซี่ยงไฮ้  ปัจจุบัน ดีลอยท์ ไชน่า (Deloitte China) ให้บริการอย่างครบวงจรสำหรับการสอบบัญชีและการรับรอง บริการที่ปรึกษา การให้คำแนะนำทางการเงิน การให้คำแนะนำเรื่องความเสี่ยง และบริการภาษีแก่ลูกค้าที่เป็นบริษัทข้ามชาติและองค์กรที่กำลังเติบโตในจีน  นอกจากนี้ ดีลอยท์ ไชน่า ยังสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานทางบัญชีของจีน รวมไปถึงระบบภาษี และความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ  ดีลอยท์ ไชน่า เป็นองค์กรบริการด้านวิชาชีพที่ถือครองโดยหุ้นส่วนในจีน  อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการของดีลอยท์ซึ่งส่งผลกระทบที่สำคัญในจีนและติดต่อแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของบริษัทได้ที่ www2.deloitte.com/cn/en/social-media

เอกสารนี้ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และด้วยการเผยแพร่เอกสารนี้ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ จำกัด (“DTTL”) รวมถึงเครือข่ายบริษัทในเครือทั่วโลก และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง (รวมเรียกว่า “องค์กรดีลอยท์”) ไม่ได้ให้คำแนะนำหรือบริการด้านวิชาชีพแต่อย่างใด  ก่อนที่จะตัดสินใจหรือดำเนินการใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเงินหรือธุรกิจของคุณ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษามืออาชีพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

ไม่มีการรับรอง การรับประกัน หรือการดำเนินการใดๆ (โดยชัดแจ้งหรือโดยนัย) เกี่ยวกับความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลในเอกสารนี้ และ DTTL บริษัทในเครือ นิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง พนักงาน หรือตัวแทน จะไม่รับผิดหรือรับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลใดๆ ที่พึ่งพาเอกสารนี้  DTTL และบริษัทในเครือแต่ละแห่ง รวมถึงนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นนิติบุคคลอิสระที่แยกออกจากกันตามกฎหมาย

© 2020. หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ดีลอยท์ ไชน่า

 

เกี่ยวกับการประชุม Inclusion Fintech Conference

การประชุม INCLUSION Fintech Conference ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม 2563 โดยเปิดโอกาสให้ผู้คนจากแวดวงการเงินและเทคโนโลยีทั่วโลกได้หารือร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์โลกที่มีความเท่าเทียมกัน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนมากขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล  การประชุม 3 วันที่นครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน 2563 ประกอบด้วยการเสวนาย่อยกว่า 40 รายการ รวมถึงการบรรยายและการอภิปรายซึ่งครอบคลุมหัวข้อสำคัญๆ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลก การเงินดิจิทัล เทคโนโลยีนวัตกรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 


About Maylada

Check Also

ขอเชิญร่วมงานสัมมนา THROUGHWAVE DIGITAL CONNECT 2023 [14 มิ.ย. 2023 – 13.00น. ณ Eastin Grand Sathorn Hotel]

Throughwave (Thailand) ขอเรียนเชิญ CIO, CTO, Digital Transformation Manager, IT Manager, IT Administrator, พันธมิตรของ Throughwave และผู้ที่สนใจทุกท่าน เข้าร่วมงานสัมมนาประจำปี “Throughwave – Digital Connect 2023” ในวันที่ 14 มิถุนายน 2023 เวลา 13.00น. เป็นต้นไป ณ โรงแรม Eastin Grand Sathorn Hotel

Veritas Backup Exec 22 ราคาไม่แพงแน่นะพี่วี ?

“Backup ข้อมูล 10 vm ราคาเริ่มต้นเพียง 19,000 บาท แถมฟรี Backup Microsoft 365 จำนวน 10 users”