[PR] ซิสโก้เผยรายงานความปลอดภัย ระบุ “องค์กรมีความมั่นใจน้อยลง” และผลกระทบต่ออุตสาหกรรมจากผู้บุกรุกเพิ่มมากขึ้น

กรุงเทพฯ – 27 มกราคม 2559 – รายงานด้านความปลอดภัยประจำปี 2559 ของซิสโก้ ซึ่งสำรวจตรวจสอบแนวโน้มความปลอดภัยไซเบอร์และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคาม เปิดเผยว่า มีองค์กรทั่วโลกเพียง 45 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มั่นใจในสถานะความปลอดภัยของตนเอง ขณะที่ปัจจุบันผู้บุกรุกดำเนินการโจมตีอย่างซับซ้อน รุนแรง และรวดเร็ว

แม้ว่าผู้บริหารอาจไม่แน่ใจเกี่ยวกับความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยขององค์กร แต่ผู้บริหาร 92 เปอร์เซ็นต์เห็นพ้องต้องกันว่า หน่วยงานกำกับดูแลและนักลงทุนจะคาดหวังให้บริษัทต่าง ๆ จัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างเหมาะสม ผู้บริหารเหล่านี้ดำเนินมาตรการเพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษาอนาคตขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่องค์กรพยายามปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้เป็นรูปแบบดิจิตอล

รายงานดังกล่าวเน้นย้ำถึงปัญหาท้าทายที่องค์กรธุรกิจต้องเผชิญ โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของผู้โจมตี ปัจจุบัน แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ “ถูกกฎหมาย” เพื่อเริ่มต้นการโจมตีอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างผลกำไร นอกจากนี้ ลำพังเพียงแค่การโจมตีโดยตรงโดยอาชญากรไซเบอร์ที่ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ( Ransomware ) สามารถสร้างรายได้ถึง 34 ล้านดอลลาร์ต่อปี ( หรือ 1,224 ล้านบาทต่อปี ) และอาชญากรเหล่านี้ยังคงดำเนินการโจมตีอย่างต่อเนื่อง โดยไม่สะทกสะท้านต่อมาตรการป้องปรามของหน่วยงานกำกับดูแล

องค์กรธุรกิจต้องรับมือกับปัญหาท้าทายด้านความปลอดภัยที่ยับยั้งความสามารถขององค์กรในการตรวจจับการโจมตีทางไซเบอร์ รวมทั้งบรรเทาปัญหา และกู้คืนระบบภายหลังการโจมตี โครงสร้างพื้นฐานรุ่นเก่า รวมถึงโครงสร้างองค์กรและแนวทางปฏิบัติที่ล้าสมัย ทำให้องค์กรตกอยู่ในความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

รายงานดังกล่าวเรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมมือกันมากขึ้น และลงทุนในกระบวนการ เทคโนโลยี และบุคลากรเพื่อต่อสู้กับอาชญากรที่มุ่งโจมตีอุตสาหกรรมต่าง ๆ

cisco-annual-security-report-2016

ประเด็นสำคัญจากผลการศึกษาวิจัย

  • ความเชื่อมั่นลดลง ความโปร่งใสเพิ่มขึ้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งขององค์กรธุรกิจที่ตอบแบบสอบถามมั่นใจในความสามารถของตนเองในการระบุขอบเขตความเสี่ยงของเครือข่ายและแก้ไขความเสียหาย แต่ผู้บริหารฝ่ายการเงินและธุรกิจส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าหน่วยงานกำกับดูแลและนักลงทุนคาดหวังว่าบริษัทต่าง ๆ จะมีความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้นในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในอนาคต แนวโน้มนี้แสดงให้เห็นว่าปัญหาเรื่องความปลอดภัยได้รับความสนใจจากคณะกรรมการบริหารเพิ่มมากขึ้น
  • โครงสร้างพื้นฐานรุ่นเก่าในช่วงปี 2557 ถึง 2558 จำนวนองค์กรที่ระบุว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของตนเองมีความทันสมัยลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ ผลการสำรวจชี้ว่า 92 เปอร์เซ็นต์ของอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตมีช่องโหว่ที่รู้จัก 31 เปอร์เซ็นต์ของอุปกรณ์ทั้งหมดที่วิเคราะห์ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือบำรุงรักษาโดยผู้ขายอีกต่อไป
  • ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ( SMB ) คือจุดอ่อน: ขณะที่องค์กรต่าง ๆ สำรวจซัพพลายเชนและความร่วมมือกับองค์กรธุรกิจขนาดเล็กอย่างใกล้ชิด ก็พบว่าองค์กรเหล่านี้ใช้เครื่องมือและกระบวนการป้องกันภัยคุกคามน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น ในช่วงปี 2557 ถึง 2558 จำนวน SMB ที่ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยบนเว็บลดลงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อองค์กรต่าง ๆ อันเนื่องมาจากจุดอ่อนบนโครงสร้าง
  • เอาต์ซอร์สเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง: ภายใต้แนวโน้มในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากร องค์กรทุกขนาดตระหนักถึงคุณประโยชน์ของบริการเอาต์ซอร์สที่ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นบริการให้คำปรึกษา การตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัย และการตอบสนองต่อกรณีปัญหาที่เกิดขึ้น ธุรกิจ SMB ซึ่งมักจะขาดแคลนทรัพยากรสำหรับการรักษาความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ กำลังดำเนินการปรับปรุงแนวทางด้านความปลอดภัยด้วยการใช้บริการเอาต์ซอร์ส ซึ่งมากถึง 23 เปอร์เซ็นต์ในปี 2558 เปรียบเทียบกับ 14 เปอร์เซ็นต์ในปีก่อนหน้า
  • การเปลี่ยนไปโจมตีเซิร์ฟเวอร์อาชญากรออนไลน์ได้เปลี่ยนไปโจมตีเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ เช่น เซิร์ฟเวอร์ของ WordPress เพื่อสนับสนุนการโจมตี โดยใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตัวอย่างเช่น จำนวนโดเมน WordPress ที่อาชญากรใช้เพิ่มขึ้นถึง 221 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม 2558
  • การรั่วไหลของข้อมูลบนเบราว์เซอร์แม้ว่าทีมงานฝ่ายรักษาความปลอดภัยมักจะมองว่าส่วนขยายของเบราว์เซอร์ที่เป็นอันตราย ( malicious browser extensions ) ถือเป็นภัยคุกคามระดับต่ำ แต่ก็อาจเป็นช่องทางที่ทำให้ข้อมูลรั่วไหล โดยส่งผลกระทบต่อองค์กรต่าง ๆ มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ แอดแวร์ ( Adware ), โฆษณาที่มีมัลแวร์แฝงอยู่ ( Malvertising ) และแม้กระทั่งเว็บไซต์ทั่วไปหรือคอลัมน์แจ้งข่าวมรณกรรม อาจนำไปสู่ปัญหาข้อมูลรั่วไหลสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ได้อัพเดตซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ
  • จุดบอดของ DNS ( Domain Name Service ): เกือบ 92 เปอร์เซ็นต์ของมัลแวร์ “อันตราย” ใช้ DNS เป็นความสามารถหลักมักจะเป็น “จุดบอด” ด้านความปลอดภัย เพราะโดยทั่วไปแล้วทีมงานฝ่ายรักษาความปลอดภัยและผู้เชี่ยวชาญ DNS ทำงานในกลุ่มไอทีคนละกลุ่มภายในบริษัท และไม่ค่อยได้ประสานงานร่วมกัน
  • ตรวจจับได้รวดเร็วขึ้น: แวดวงอุตสาหกรรมประเมินว่าเวลาที่ใช้ในการตรวจจับอาชญากรรมไซเบอร์อยู่ที่ประมาณ 100 ถึง 200 วัน ซึ่งถือเป็นระยะเวลาที่นานเกินไปจนไม่อาจยอมรับได้ ซิสโก้ได้ลดระยะเวลาดังกล่าวจาก 46 เป็น5 ชั่วโมง นับตั้งแต่ที่รายงานด้านความปลอดภัยกลางปี 2558 ของซิสโก้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ การลดระยะเวลาการตรวจจับจะช่วยลดความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ ลดความเสี่ยงและผลกระทบต่อลูกค้า และโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก
  • ความน่าเชื่อถือคือสิ่งสำคัญ: ขณะที่องค์กรต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ระบบดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น ข้อมูล อุปกรณ์ เซ็นเซอร์ และบริการต่าง ๆ จึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดความต้องการใหม่ ๆ สำหรับความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจสำหรับลูกค้า

หากต้องการสำเนาฉบับสมบูรณ์ของรายงานด้านความปลอดภัยประจำปี 2559 ของซิสโก้ และอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำแนะนำของซิสโก้ในเรื่องแนวทางสำหรับองค์กรธุรกิจในการลดความเสี่ยง คลิกที่นี่

เกี่ยวกับรายงาน

รายงานด้านความปลอดภัยประจำปี 2559 ของซิสโก้ วิเคราะห์แนวโน้มและปัญหาสำคัญ ๆ ในด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของซิสโก้ในประเด็นที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยและอาชญากรที่พยายามเล็ดลอดผ่านระบบป้องกัน นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังเน้นย้ำผลการศึกษาเบนช์มาร์กเกี่ยวกับความสามารถด้านความปลอดภัย ( Security Capabilities Benchmark Study ) ฉบับที่สองของซิสโก้ ซึ่งมุ่งตรวจสอบการรับรู้ของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยในเรื่องที่เกี่ยวกับสถานะด้านความปลอดภัยขององค์กร และยังมีการกล่าวถึงแนวโน้มทางภูมิศาสตร์การเมือง ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องความเสี่ยงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้และความเชื่อมั่น และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันภัยคุกคามอย่างครบวงจร

คำกล่าวสนับสนุน

จอห์น เอ็นสจ๊วต, รองประธานอาวุโสฝ่ายรักษาความปลอดภัยของซิสโก้

“ระบบการรักษาความปลอดภัยควรปรับสภาพได้ตามการออกแบบ ความเป็นส่วนตัว และความรับผิดชอบที่โปร่งใส ด้วย IoT ที่เกิดขึ้นในทุกธุรกิจ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีจะต้องสร้าง ลงทุน และดำเนินการได้ในทุกภาคส่วน เราไม่ควรสร้างหนี้ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีอีกต่อไป แต่เราต้องเผชิญความท้าทายที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้”

คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของซิสโก้

“แนวโน้ม IoT และ Digitization เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยจึงต้องถูกสร้างขึ้น และใช้งานในทุกภาคธุรกิจ ขณะที่ภัยคุกคามส่วนใหญ่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลเชิงลึกในรายงาน Annual Security Report ของซิสโก้ชี้ให้เห็นว่าผู้โจมตีมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ด้านความปลอดภัย และมีการใช้ทรัพยากรออนไลน์ที่ถูกกฎหมายเพื่อทำการโจมตีเพิ่มมากขึ้น ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ( ThaiCERT ) เปิดเผยว่า คนไทย 48% มีความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยทางออนไลน์ และมีการรายงานปัญหาด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ 2,534 กรณีในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยครอบคลุมถึงปัญหาการปลอมแปลง การบุกรุก และโค้ดอันตราย ขณะที่การลงทุนด้านการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น แต่ไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีความซับซ้อนมากขึ้น และผู้โจมตีไม่เคยละความพยายามที่จะโจมตีองค์กรธุรกิจในแต่ละปี

ทุกวันนี้มาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยจะต้องมีความสอดคล้องกับทิศทางธุรกิจ มีการปรับใช้อย่างเหมาะสมในระดับโครงสร้าง และผสานรวมเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องรับทราบและปรับใช้กลยุทธ์ด้านความปลอดภัย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่ไม่คาดคิด ขณะที่บริษัทไอทีจะต้องพัฒนาโซลูชั่นที่เชื่อถือได้สำหรับลูกค้า”

ทรัพยากรสนับสนุน

 

เกี่ยวกับ ซิสโก้

ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) เป็นผู้นำระดับโลกด้านไอทีที่ช่วยให้ธุรกิจและบริษัทต่างๆสร้างสรรค์สิ่ง มหัศจรรย์และปรากฏการณ์ใหม่ๆที่เกิดจากการเชื่อมต่อ (connect) ดูข่าวและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซิสโก้ได้ที่ http://thenetwork.cisco.com ผลิตภัณฑ์ซิสโก้ในประเทศไทยจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายโดยพาร์ทเนอร์ของ Cisco Systems International B.V ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทในเครือซิสโก้ ซีสเต็มส์ ทั้งหมด

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Tuskira เปิดตัวพร้อมทุน 28.5 ล้านดอลลาร์ ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้วย AI

สตาร์ทอัพด้านการตรวจจับภัยคุกคาม Tuskira เปิดตัวพร้อมระดมทุน 28.5 ล้านดอลลาร์จากกลุ่มนักลงทุนที่นำโดย Intel Capital และ SYN Ventures มุ่งเร่งนวัตกรรม AI การผสานระบบ และยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรด้วยกลยุทธ์เชิงรุกที่รวมเครื่องมือเข้าด้วยกันและลดความเสี่ยงแบบเรียลไทม์

Dell ชี้ ภูมิภาค APJ ยังมีโอกาสในด้าน AI อีกมาก พร้อมเผยคาดการณ์ 5 เทรนด์ AI แห่งปี 2025 

แม้ว่า Generative AI กำลังเริ่มมีการปรับใช้ในภาคธุรกิจอย่างจริงจังมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีนั้นยังดูไม่ได้แผ่วหรือว่าช้าลงไปแม้แต่น้อย เพราะเราสามารถเห็น Breakthrough หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาจากอุตสาหกรรมได้ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้น หรือบางครั้งอาจจะเป็นรายสัปดาห์ก็ว่าได้ จากงานแถลงข่าว Dell Technologies (Dell) …