วิศวะฯ AI ป.ตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สร้างผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ผ่านประสบการณ์ลงมือทำจริง บนระบบประมวลผลความเร็วสูง ที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกใช้จริง

หนึ่งในหลักสูตรปริญญาตรีที่ถือว่าร้อนแรงมากสำหรับยุคปัจจุบันนี้ ก็คงหนีไม่พ้นหลักสูตรทางด้านปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีแห่งปัจจุบันและอนาคตอย่างแท้จริง และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก็ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่มีวิสัยทัศน์ เร่งสร้างหลักสูตรวิศวะฯ AI ขึ้นมา เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาบุคลากรทางด้าน AI เพื่อเติมเต็มความต้องการในทุกๆ อุตสาหกรรมของประเทศไทยในอนาคตอย่างรวดเร็ว

ทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.วิศาล พัฒน์ชู คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ถึงประเด็นด้านวิสัยทัศน์ในการวางหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้าน AI และการลงทุนในเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้การเรียนการสอนทางด้าน AI นี้สัมฤทธิ์ผล จึงขอนำสรุปเนื้อหาจากการพูดคุยกับท่านคณบดีเอาไว้ให้ทุกท่านที่สนใจได้อ่านกันในบทความนี้ครับ

รู้จักกับสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผศ.ดร.วิศาล พัฒน์ชู คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ดร.วิศาลได้เกริ่นถึงที่มาของหลักสูตรในสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล หรือที่มีชื่อเล่นเรียกสั้นๆ ว่าวิศวะฯ AI นี้ ว่าเป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นจากมุมมองของทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เล็งเห็นว่าเรื่องของ Data Science นี้เป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกขาดออกจากเรื่องของ AI ได้ จึงได้นำศาสตร์สองเรื่องนี้มารวมเข้าด้วยกันในหลักสูตรนี้

ในขณะเดียวกัน ทางคณะเองก็เล็งเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมส่วนใหญ่นั้นมักจะเป็นการที่นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเชิงทฤษฎีและเทคโนโลยีค่อนข้างลึก แต่ยังขาดภาพของการประยุกต์นำเทคโนโลยีและองค์ความรู้เหล่านั้นไปใช้งานในธุรกิจ หลักสูตรนี้จึงออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในด้าน AI และ Data Science และการประยุกต์นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้งานจริงในภาคธุรกิจเป็นสำคัญ

เนื้อหาในหลักสูตรนี้จะมีส่วนผสมของทั้งวิชาทางด้านวิศวกรรม, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิทยาศาสตร์ข้อมูล, ปัญญาประดิษฐ์ และธุรกิจ โดยในช่วงปี 1-2 นั้นจะเน้นหนักไปที่การเรียนวิชาต่างๆ และการทดลองใช้เครื่องมือในการจัดการกับข้อมูลและการสร้าง AI ในขณะที่ปี 3-4 นั้นจะเน้นหนักไปที่การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการนำ AI ไปประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนภายนอกเป็นหลัก

สาขาวิศวะฯ AI นี้เพิ่งเปิดตัวมาได้เมื่อปีที่แล้วเท่านั้น ทำให้นักศึกษารุ่นแรกจำนวนกว่า 50 คนกำลังขึ้นสู่ปีสองของหลักสูตร และกำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาปีหนึ่งอยู่ในช่วงนี้ โดยผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://www.bu.ac.th/th/engineering/ai-engineering-datascience ครับ

มุ่งสร้างวิศวกร AI ที่เข้าใจธุรกิจอย่างถ่องแท้ สร้างประสบการณ์ด้วยการผสานภาคธุรกิจไทยเข้าในหลักสูตร

ดร.วิศาลได้ชี้ถึงสิ่งที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ต้องการเสริมให้กับนักศึกษาในสาขานี้เพื่อสร้างความแตกต่าง ซึ่งก็คือการเสริมเนื้อหาทางด้านธุรกิจ ด้านความคิดสร้างสรรค์ และประสบการณ์การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีจริงๆ ให้กับว่าที่วิศวกรในหลักสูตรนี้ ด้วยการเสริมเนื้อหาภาคธุรกิจเข้าไปในตลอดช่วงการศึกษา เช่น ในระหว่างที่เรียนปีหนึ่ง ก็จะมีเนื้อหาให้ผู้เรียนได้เห็นภาพของการนำ AI และ Data Science ไปใช้งานในธุรกิจ ควบคู่ไปกับการเรียนวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมอื่นๆ ไปด้วย ในขณะที่โจทย์ต่างๆ ที่จะได้ทำในช่วงปี 2 และปี 3 นั้นก็จะอ้างอิงกับโจทย์ทางธุรกิจและเครื่องมือที่ภาคธุรกิจใช้งานจริงเป็นหลัก รวมถึงยังมีการฝึกงาน และการทำ Senior Project ที่จะมีความร่วมมือกับภาคธุรกิจภายนอกด้วย

ด้วยแนวทางดังกล่าวนี้ ดร.วิศาลเชื่อว่าจะสามารถปลูกฝังให้ผู้เรียนนั้นมี Mindset ทางด้านธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และทำให้ทุกๆ ครั้งที่ผู้เรียนได้สัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็จะเห็นภาพของการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปแก้โจทย์ทางธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่งผลให้วิศวกร AI ที่จบจากหลักสูตรนี้จะเป็นผู้ที่สามารถเชื่อมผสานระหว่างโลกของ AI Engineer และ Data Scientist เข้ากับโลกของธุรกิจ เพื่อสร้างสรรค์หรือใช้งานเทคโนโลยี AI ที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจ และสร้างคุณค่าให้กับภาคธุรกิจองค์กรไทยได้ในอนาคตอย่างรวดเร็ว

นักศึกษาต้องใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือได้หลากหลาย ไม่ยึดติดกับเทคโนโลยีใดเพียงอย่างเดียว

อีกสิ่งหนึ่งที่ดร.วิศาลมองว่าจะเป็นการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ที่เรียนในหลักสูตรวิศวะฯ AI นี้ ก็คือการนำเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบมาให้นักศึกษาได้สัมผัสและใช้งานจริงให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น Cloud จากผู้ให้บริการชั้นนำแต่ละราย, Server หรือแม้แต่บอร์ดประมวลผลขนาดเล็ก ร่วมกับ Software และ Framework ต่างๆ ทางด้าน AI และ Data Science อย่างเช่น TensorFlow, Pytorch และอื่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนนั้นได้ลองใช้งานเทคโนโลยีในทุกรูปแบบอย่างครบถ้วนจนเข้าใจถึงข้อดีข้อเสีย และสามารถนำไปประยุกต์พลิกแพลงใช้งานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้

ทั้งนี้การที่มีเทคโนโลยีให้ผู้เรียนได้เลือกใช้อย่างหลากหลายนี้ก็ยังมีข้อดีอีกประการ นั่นก็คือในระหว่างที่มหาวิทยาลัยยังไม่สามารถเปิดให้ผู้เรียนเข้ามาทำกิจกรรมและใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้ การเรียนการสอนก็สามารถถูกปรับไปใช้งานเทคโนโลยีบน Cloud ได้อย่างยืดหยุ่น และเมื่อถึงวันที่มหาวิทยาลัยสามารถกลับมาเปิดให้มีการเรียนการสอนได้ตามปกติ ก็สามารถสลับนำ Hardware ต่างๆ มาให้ในการสอนแทนได้นั่นเอง

ลงทุนจัดซื้อ Hardware สำหรับประมวลผลด้าน AI โดยเฉพาะจาก IBM เสริมแกร่งหลักสูตร ให้นักศึกษาได้สัมผัส Infrastructure ทุกแบบ

ในหลักสูตรวิศวะฯ AI นี้ ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้มีการลงทุนจัดซื้อ Server สำหรับประมวลผล AI โดยเฉพาะอย่าง IBM Power System AC922 และ Server สำหรับจัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะอย่าง IBM Power System LC922 มาใช้ทำงานร่วมกัน โดยมีการติดตั้ง NVIDIA Tesla V100 จำนวนมากถึง 4 ชุดลงไปยัง IBM Power System AC922 เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการประมวลผลทางด้าน AI สูงสุด

การจัดซื้อ Server นี้ ดร.วิศาลระบุว่าเป็นการลงทุนเพื่อให้ผู้เรียนนั้นได้เห็นและได้สัมผัสกับ Hardware สำหรับงานเฉพาะทางอย่าง AI โดยตรง อีกทั้งการที่ใช้ Hardware เพื่อประมวลผลนี้ยังมีความเร็วที่สูงกว่าและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการใช้ Cloud ทำให้ผู้เรียนสามารถทำการทดลองสร้าง AI จาก Dataset เฉพาะทางที่มีขนาดใหญ่ได้ และยังสามารถลองผิดลองถูกกับการสร้าง AI ได้หลายๆ รอบในเวลาอันสั้น โดยไม่ต้องกังวลกว่า Cloud Credit ที่ใช้เรียนนั้นจะมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้เรียนสามารถมีประสบการณ์เชิงลึกกับการทำงานทางด้าน AI ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ด้วยประสิทธิภาพที่สูงของ IBM Power System ที่ใช้งานในครั้งนี้ ทางคณะก็ได้มีการนำเทคโนโลยี Container เข้ามาเพื่อแบ่งสรรทรัพยากรบน Server ให้นักศึกษาในสาขาวิชาได้ใช้งานร่วมกัน ซึ่งระบบก็ยังคงสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี และเพียงพอต่อการใช้ในการศึกษา โดยนักศึกษาแต่ละคนที่มี Container ของตนเองนั้นก็สามารถปรับแต่งระบบได้ตามต้องการอย่างอิสระ

ไม่เพียงแต่ Hardware ที่ทรงประสิทธิภาพนี้เท่านั้น แต่การลงทุนจัดซื้อระบบ IBM Power System สำหรับใช้ในการเรียนการสอนครั้งนี้ ยังมีทีมงานจาก IBM Thailand มาอบรมอาจารย์ในหลักสูตรด้วยโครงการ Train the Trainer ทำให้อาจารย์ผู้สอนมีทรัพยากรและเนื้อหาการสอนรูปแบบใหม่ๆ มาใช้เสริมหลักสูตรนี้ได้ และยังมีเครื่องมือสำหรับการพัฒนา AI จาก IBM หลากหลายรูปแบบที่นอกเหนือไปจากโซลูชันแบบ Open Source ตามปกติเพื่อให้นักศึกษาได้ลองสัมผัสกับเครื่องมือต่างๆ ที่ภาคธุรกิจองค์กรทั่วโลกใช้งานจริงซึ่งปกติจะมีค่าใช้จ่ายสูงมากอีกด้วย

ในขณะเดียวกัน ทีมงาน Computer Union ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายของ IBM เองก็ได้รับหน้าที่ในการเข้ามาติดตั้งและดูแลรักษาระบบดังกล่าว ซึ่งทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพก็ได้มีความร่วมมือจาก Computer Union เป็นอย่างดีมาโดยตลอด ในเรื่องขอการฝึกอบรมแบบ on the job training และยังมีโอกาสที่จะได้เกิดความร่วมมือในเชิงวิชาการอย่างหลากหลาย เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยขยายฐานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจเพื่อสร้างประสบการณ์ในการทำงานจริงให้กับนักศึกษาได้ในระยะยาว

เปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มเติม สร้างวิศวกร AI ที่พร้อมทำงานได้จริงด้วยกัน

สุดท้ายสิ่งที่ดร.วิศาลได้เน้นย้ำนั้นก็คือการนำโจทย์ที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศไทยมาให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์กับโจทย์ทางธุรกิจจริงๆ แล้ว การได้มีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาระบบ AI ให้ภาคธุรกิจได้นำไปใช้งานจริงนี้ก็จะช่วยเติมเต็มมุมมองทางธุรกิจให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี, การได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ภาคธุรกิจใช้งานจริงซึ่งอาจแตกต่างจากในห้องเรียน และการได้เห็นถึงผลลัพธ์ของการนำ AI ไปใช้งานในภาคธุรกิจซึ่งอาจต้องมีการปรับแต่งหลายรอบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และยังอาจเป็นใบเบิกทางไปสู่การทำงานจริงในอนาคตหลังเรียนจบได้

ที่ผ่านมาทางสาขาได้มีการเชิญธุรกิจหลายแห่งมาช่วยเปิดมุมมองและวิสัยทัศน์ให้กับนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเชิญผู้พัฒนาระบบ AI, Chatbot หรือแม้แต่ระบบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินจากภายนอกมาให้ความรู้ ซึ่งดร.วิศาลเองก็ระบุว่าหลังจากนี้ทางคณะก็จะมีความร่วมมือกับธุรกิจองค์กคภายนอกอีกหลายแห่ง และยังเปิดรับความร่วมมือในลักษณะนี้อยู่เสมอ เพื่อให้นักศึกษาได้มีโจทย์ทางธุรกิจใหม่ๆ, มี Dataset ใหม่ๆ และมีมุมมองใหม่ๆ ในระหว่างที่เรียน 4 ปี ในขณะที่ภาคธุรกิจเองก็จะได้มีโอกาสมาร่วมสร้างบุคลากรที่มีความสามารถตรงตามความต้องการของตลาดได้

สำหรับธุรกิจองค์กรใดที่ต้องการติดต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการร่วมกัน สามารถตรวจสอบข้อมูลและติดต่อทางคณะได้ทันทีที่ https://www.bu.ac.th/th/engineering

สนใจโซลูชัน AI และ IBM Power Systems ติดต่อทีมงาน Computer Union ได้ทันที

สำหรับมหาวิทยาลัยใดที่สนใจโซลูชันระบบ AI สำหรับนำไปใช้เพื่อการศึกษา หรือธุรกิจองค์กรใดที่ต้องการโซลูชันระบบ AI เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาและใช้งาน AI สามารถติดต่อทีมงาน Computer Union ได้ทันทีที่

บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด

โทร 02 311 6881 # 7151, 7156 หรือ email : cu_mkt@cu.co.th

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

โอกาสของคุณมาถึงแล้ว!!! หากคุณคือสุดยอดนักนวัตกรรมประกันภัย ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และอยากพิชิตรางวัลระดับประเทศ…

OIC InsurTech Award 2024 เปิดรับสมัคร สตาร์ทอัพ นักประกันภัยรุ่นใหม่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้าร่วมการประกวดสุดยอดนวัตกรรมด้านการประกันภัย บนเวทีสุดยิ่งใหญ่แห่งปี ในหัวข้อ “Limitless Insurance …