AWS ส่งต่อโปรเจ็ค OpenSearch สู่มือ Linux Foundation

OpenSearch เป็นทางเลือกของ Elasticsearch หลังจากการเปลี่ยน License ของ Elastic เมื่อหลายปีก่อน ซึ่ง AWS คือผู้ริเริ่มและปัจจุบันมีการส่งมอบโปรเจ็คให้ไปเติบโตต่อในปีของ Linux Foundation

credit : aws.amazon.com

Elasticsearch เป็น Search Engine ยอดนิยมซึ่งเดิมที่เคยเป็นอยู่ภายใต้ Apache 2.0 ต่อปีในปี 2021 ได้มีการปรับ License ตั้งแต่เวอร์ชัน 7.11 และโทษว่า AWS คือต้นเหตุที่นำไปค้าบริการกับลูกค้าอย่างไม่เหมาะสม อย่างไรก็ดีการตัดสินใจครั้งนี้ถือเป็นการละเมิดคำสัญญาที่เคยปฏิญานตนกับ Apache 2.0 จากนั้น AWS ก็ตอบโต้ด้วยการ fork โปรเจ็คสู่ OpenSearch

อย่างไรก็ดี AWS ที่อยากจะผลักดันให้ OpenSearch ไปต่อกับ Community ถือว่ายังไร้ประสบการณ์ในการจัดการโปรเจ็คขนาดใหญ่จึงขอส่งต่อให้กับ The linux foundation ที่มีประสบการณ์โดยตรง ทั้งนี้สมาชิกรับดับพรีเมียที่เข้าร่วมแล้วคือ SAP และ Uber ตามมาด้วยสมาชิกทั่วไปอย่าง Aiven, Aryn, Canonical, DigitalOcean, NetApp, Graylog และอื่นๆ จะมาร่วมกันแชร์องค์ความรู้ ซึ่งก็เริ่มมีนวัตกรรมจากกลุ่มก้อนผู้สนใจเข้ามาแล้วบ้าง อย่างการเปลี่ยนผ่านจาก Cluster-based สู่ Clound native และการแยกระหว่าง compute และ storage รวมถึงกำลังมีแนวโน้มสำคัญเกี่ยวกับ Vector database เช่นกัน

ทั้งนี้การไปต่อภายใต้ The linux foundation ยังมีประเด็นเรื่องความเคลื่อนไหวที่ Elasticserach และ Kibana ได้กลับเข้าสู่ความเป็นโอเพ่นซอร์สอีกครั้งภายใต้เงื่อนไข GNU Affero General Public License version 3 (AGPL) คือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดทั้งหมด

ที่มา : https://techcrunch.com/2024/09/16/aws-brings-opensearch-under-the-linux-foundation-umbrella/ และ https://ir.elastic.co/news/news-details/2024/Elastic-Announces-Open-Source-License-for-Elasticsearch-and-Kibana-Source-Code/default.aspx

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

AMD และพันธมิตรร่วมกันยกระดับประสบการณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI บนผลิตภัณฑ์ AMD [PR] 

AMD ประกาศเปิดตัว Amuse 3.0 และโมเดล Stable Diffusion ใหม่ที่ปรับแต่งสำหรับการใช้งานบน AMD ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านวิศวกรรมกับ Stability AI

AMD เปิดตัวการ์ดเน็ตเวิร์กระดับ 400Gbps ตัวแรกของโลกที่เปิดให้โปรแกรมเองได้

AMD Pollara 400 หรือโซลูชัน NIC ใหม่จาก AMD ซึ่งจุดเด่นคือการเปิดให้มีการโปรแกรมการใช้งานเพิ่มเองได้ และรองรับมาตรฐานจาก Ultra Ethernet Consortium (UEC) ได้ด้วย