IoT ไม่ได้เป็นเพียงเครือข่ายของอุปกรณ์อัจฉริยะ แต่เป็นแนวคิดทั้งหมดที่ช่วยให้สามารถระบุและคัดแยกมูลค่าจากข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งรวบรวมโดยเซ็นเซอร์และวิเคราะห์ในระบบคลาวด์
Image Credit : jabil.com
ระบบนิเวศของ IoT เป็นแพลตฟอร์มที่ปรับแต่งได้และเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น บริษัทด้านโลจิสติกส์จะได้รับประโยชน์หากมีการดำเนินการดังต่อไปนี้:
การรวบรวมข้อมูล IoT เพื่อให้มีสินทรัพย์ทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว
การประมวลผลข้อมูล IoT เพื่อให้ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะของคลังสินค้าและการควบคุมแบบเรียลไทม์
การวิเคราะห์ข้อมูล IoT เพื่อให้มีการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์และการวางแผน SC ที่แม่นยำ
เทรนด์ #1 – IoT สำหรับการวิเคราะห์ขั้นสูง
เนื่องจากเศรษฐกิจประสบกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะถดถอย และอุปทานส่วนเกิน ห่วงโซ่อุปทานจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนที่แม่นยำยิ่งขึ้น ขีดความสามารถในการคาดการณ์ความยืดหยุ่นในห่วงโซ่อุปทาน อาจสร้างข้อได้เปรียบที่ IoT จะมอบให้กับระบบลอจิสติกส์ ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องมือซึ่งใช้ฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อประมวลผลข้อมูลจากทุกแผนกภายในธุรกิจ
แนวโน้มทั่วโลกในหลายๆ ด้าน ส่งผลให้องค์กรต่างๆ สามารถรับรายงานและการคาดการณ์ที่แม่นยำสำหรับสถานการณ์เฉพาะของตนได้ เพื่อมุ่งไปที่การคาดการณ์ในส่วนของการเพิ่มขึ้นของราคา การขาดแคลนวัตถุดิบ หรือการหยุดงานประท้วงที่ส่งผลต่อการหยุดชะงักของการดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้ IoT จึงช่วยให้สามารถวางแผนความต้องการ การกระจายทรัพยากร กำลังการผลิต และอื่นๆ ได้ดีขึ้น
เทรนด์ #2 – IoT สำหรับโลจิสติกส์ที่ยืดหยุ่น
ขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นคือการปรับคลังสินค้าและเส้นทางการขนส่งให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดโดยไม่ลดปริมาณงาน แนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับ IoT ด้านล่างนี้สามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้
Multimodal Transportation : IoT ให้มุมมองแบบองค์รวมของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อปรับปรุงการติดตามสินค้าและการประสานงานในการทำงาน เพิ่มความปลอดภัย และทำให้งานเอกสารเป็นแบบอัตโนมัติ การขนส่งสินค้าภายใต้การควบคุมด้วย IoT สามารถมองเห็นได้ในทุกขั้นตอน ในขณะที่การจัดการภาคส่วนการขนส่งก็ง่ายดายเช่นเดียวกัน
Real-Time Monitoring : แพลตฟอร์ม IoT บนคลาวด์จัดการข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าและยานพาหนะแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ฝ่ายต่าง ๆ มองเห็นภาพรวมของห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด และช่วยให้เปลี่ยนอุปกรณ์ส่วนประกอบได้หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เป็นการช่วยยกระดับการทำงานอัตโนมัติอัจฉริยะทั่วทั้งเครือข่าย และช่วยให้ผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วต่อการหยุดชะงักและเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
Predictive Asset Management : การจัดการสินทรัพย์เชิงคาดการณ์ ในปี 2023 บริษัทต่างๆ ควรเปลี่ยนไปใช้แนวคิดเรื่องโลจิสติกส์แบบ “เผื่อไว้” สำหรับการวางแผนสินค้าคงคลัง การควบคุมที่เข้มงวดโดยใช้ IoT ช่วยให้ทราบตำแหน่งที่แน่นอน ปริมาณที่แท้จริง และสภาพของสินค้าที่สมบูรณ์ วิธีที่ช่วยให้การดำเนินงานได้สะดวกและง่ายดายที่สุดในการทำให้ข้อมูลต่างๆ มีความถูกต้องและแม่นยำ คือ การปรับรูปแบบการใช้งานด้วย RFID tags ให้กับสินค้า เพื่อให้บริษัทด้านลอจิสติกส์มีข้อมูลการจัดส่งแบบเรียลไทม์ การเปรียบเทียบการคาดการณ์ทั่วโลกกับการคาดการณ์ภายใน เป็นไปได้ที่จะสร้างสมดุลระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าคงคลังและเงินสำรองเพื่อให้ครอบคลุมสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน
เทรนด์ #3 – IoT กับการขาดแคลนบุคลากร
การขาดแคลนแรงงานไม่ใช่ปัญหาใหม่ในด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มพนักงานขับรถบรรทุก การลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุดจะทำให้อุตสาหกรรมนี้น่าดึงดูดยิ่งขึ้น เครื่องมือวิเคราะห์ IoT ช่วยให้บริษัทต่างๆ คาดการณ์วิกฤตการณ์และกำหนดเส้นทางขบวนรถใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงการหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัดและกำจัดการขนส่งที่ผิดพลาดสำหรับพนักงานขับรถ
โซลูชันการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ที่ใช้ IoT ช่วยลดการสูญเสียระหว่างทาง และการติดตามยานพาหนะอย่างละเอียดช่วยให้มีข้อมูลการปฏิบัติงานที่แท้จริง ข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถช่วยตรวจสอบสุขภาพให้กับพนักงานขับรถได้ด้วย เป็นการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
ในปี 2022 ที่ผ่านมา ปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญที่จะจัดการโลจิสติกส์ที่ซับซ้อนเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงการมากที่สุด จึงทำให้การวิเคราะห์บน IoT เป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะทางซึ่งเข้ามามีบทบาทที่สำคัญที่จะช่วยให้สามารถตัดสินใจด้านการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยพิจารณาจากข้อมูลที่วิเคราะห์ ยิ่งมีข้อมูลในการวิเคราะห์มากเท่าไร การคาดการณ์ก็ยิ่งแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งสามารถช่วยวางแผนการขนส่งสำหรับอนาคตให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดความไร้ประสิทธิภาพลงได้
เทรนด์ #4 – IoT สำหรับคลังสินค้าอัตโนมัติ
การระบาดครั้งใหญ่ผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีคลังสินค้าอัจฉริยะไปใช้ในวงกว้างมากขึ้น คลังสินค้าอัจฉริยะเคยเป็นเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มที่น่าสนใจอย่างมาก และตอนนี้กำลังกลายเป็นกระแสระดับโลกที่กลายเป็นเทรนด์ที่ต้องมี
Warehouse automation ระบบอัตโนมัติของคลังสินค้าขึ้นอยู่กับข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับตำแหน่งของสินค้า ซึ่งจะถูกส่งไปยังระบบคลาวด์โดยใช้วิธีการสแกนอ่านโดยเทคโนโลยี RFID tags เป็นต้น
Autonomous mobile robots (AMRs) เป็นเทคโนโลยีที่นำมาปรับใช้งานให้กับคลังสินค้ามากที่สุด เพื่อให้ทราบตำแหน่งและปริมาณของสินค้าที่จะขนส่งอย่างแม่นยำ มีการอัปเดตความเคลื่อนไหวของสินค้าที่เข้าและออกอยู่ตลอดเวลา
Maintenance of vehicles การบำรุงรักษายานพาหนะมีประโยชน์อย่างมาก โดยการประยุกต์ปรับใช้งานอุปกรณ์วิเคราะห์ IoT สามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับยานพาหนะ และประเมินสภาพของส่วนประกอบโดยการวิเคราะห์เสียงและการสั่นสะเทือน ติดตามระดับของเหลว และตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ขับขี่
ตัวอย่างเช่น
สไตล์การขับขี่ที่ดุดันไม่เกรงใจใคร ซึ่งสามารถตรวจจับได้โดยการเร่งความเร็วมากเกินที่กำหนด การเข้าโค้งหักศอก และเบรกอย่างรุนแรง
พฤติกรรมเหล่านี้ สามารถปรับแต่งอุปกรณ์ได้โดยใช้แค่ตัววัดความเร่ง เครื่องวัดการหมุนวน หรือเซ็นเซอร์ความเอียง ซึ่งเป็นความล้ำของ IoT
Automation of transport vehicles ปัจจุบันสามารถจับต้องได้มากขึ้น เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าว่าต้องส่งสินค้าอะไรและให้กับใคร ข้อมูลเหล่านี้หากมีความชัดเจนพอเราสามารถเลือกรูปแบบการขนส่งโดยใช้โดรนหรือยานพาหนะพิเศษได้ เพื่อประสิทธิภาพที่สูงกว่า
เทรนด์ #5 – IoT เพื่ออนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คำมั่นสัญญา : สหราชอาณาจักร แคนาดา ญี่ปุ่น และอีกสองสามประเทศได้มุ่งมั่นที่จะปล่อย CO2 เป็นศูนย์ภายในปี 2050
เทรนด์นี้ได้รับความนิยมจากผู้คนกว่า 85% ของผู้บริโภคทั่วโลกได้พัฒนาพฤติกรรมการซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เนื่องจากลอจิสติกส์มีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อย CO2 ประมาณ 11% ทั่วโลก แนวโน้มของ “การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน หากบริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานไฟฟ้าในสินทรัพย์เป็นหลัก เซนเซอร์ IoT จะช่วยติดตามการปล่อยมลพิษได้อย่างแม่นยำ การมีข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากยานพาหนะแต่ละแห่งและไซต์งานด้านลอจิสติกส์ ทำให้ง่ายต่อการสร้างกลยุทธ์สำหรับการลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป
บทสรุป
เทรนด์ IoT ที่สำคัญสำหรับภาคโลจิสติกส์ – ซัพพลายเชน จะอยู่กับเราไปอีกนาน และหากคุณมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลภายในโซลูชันลอจิสติกส์ที่ถูกรวบรวมโดย IoT คุณก็จะสามารถคาดการณ์แนวโน้มลอจิสติกส์ได้ด้วยตัวเอง