Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

เส้นทางสู่ปรากฏการณ์แห่งสมรรถนะของ WAN

ไม่ว่าธุรกิจใดก็ตามที่ใส่ใจเรื่องความได้เปรียบด้านการแข่งขันต่างหันมาให้ความสำคัญกับสมรรถนะ (Performance) ของ WAN  แต่ขณะที่องค์กรต่างๆ เริ่มนำแอปพลิเคชันที่ใช้ระบบ Cloud มาปรับใช้มากขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งสมรรถนะของระบบมักลดต่ำลงเนื่องจากเครือข่ายไม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงแอปพลิเคชันที่อยู่นอก Data Center อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เทคโนโลยี SD-WAN จึงเป็นคำตอบสำหรับหลายๆ ธุรกิจ ในฐานะที่เป็นทางเลือกที่ประหยัดต้นทุนและมีประสิทธิภาพมากกว่า

อย่างไรก็ตาม SD-WAN แต่ละประเภทไม่ได้สร้างมาให้เหมือนกันทั้งหมด ในขณะที่แอปพลิเคชันใหม่ๆ เริ่มปรากฏโฉมให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งไว้ใช้เองในองค์กรแบบ On-premise หรือบน Cloud อัตราการรับส่งข้อมูล ประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือที่ต้องการได้รับจาก WAN กลับเพิ่มสูงขึ้น

SD-WAN ที่ขับเคลื่อนด้วยสมรรถนะ (Performance-driven SD-WANs) จะช่วยยกระดับสมรรถนะของแอปพลิเคชันและคุณภาพของบริการ (QoS) ได้อย่างมากเมื่อเทียบกับ SD-WAN แบบอื่นๆ จึงทำให้องค์กรต่างๆ สามารถตัดสินใจนำโซลูชัน SD-WAN 
มาใช้ได้ง่ายขึ้น

“ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพ WAN บนพื้นฐานความต้องการด้าน QoS ของแอปพลิเคชันที่เจาะจง คุณภาพของลิงก์ ความพร้อมใช้งาน หรือระดับอัตราการรับส่งข้อมูลแบบอัจฉริยะในลักษณะเดียวกับเครือข่ายประเภทอื่นๆ คือตัวพลิกเกมที่สำคัญ” Tricia Png ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียของ Silver Peak กล่าว “ด้วยโซลูชัน SD-WAN ที่ล้ำสมัย อย่างเช่น Unity EdgeConnect ทำให้ผู้จัดการฝ่าย IT จะมีตัวเลือกมากขึ้น ทั้งยังประหยัด CapEx และ OpEx ไปพร้อมๆ กับเพิ่มสมรรถนะของ WAN”

ขับเคลื่อนสมรรถนะผ่านการเชื่อมต่อ WAN หลายเครือข่าย

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ WAN แบบต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน องค์กรควรมองหาโซลูชันที่สามารถเชื่อมต่อลิงก์ต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อมอบสมรรถนะสูงสุดและตอบสนองความต้องการด้าน QoS สำหรับแอปพลิเคชันประเภทต่างๆ ตัวอย่างเช่น ลิงก์ WAN ตั้งแต่สองลิงก์ขึ้นไป แม้จะมีระบบการเชื่อมต่อต่างกัน เช่น MPLS, Internet หรือ 4G/LTE ต่างสามารถรวมสัญญาณเข้าด้วยกันเป็นการเชื่อมต่อ Logical เดียวกันได้ การเชื่อมต่อในลักษณะนี้สามารถป้องกัน Single Point of Failure เมื่อการเชื่อมต่อแบบใดแบบหนึ่งขัดข้อง เนื่องจากทราฟฟิกจะถูกจัดเส้นทางไปยังลิงก์ WAN ที่เหลือโดยอัตโนมัติโดยปราศจากการหยุดชะงัก ทำให้ความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยไม่ต้องมีการบริหารจัดการและกระบวนการจัดสรรงานที่ซับซ้อนซึ่งทำให้ยากต่อการดูแลระบบ

นอกจากนี้ ลิงก์ WAN ทั้งหมดยังคงสามารถรองรับทราฟฟิกหลักขององค์กรได้ โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยสมรรถนะ (Performance-driven Solutions) จึงต่างจากโซลูชันที่ทำได้เพียง Mirror ทราฟฟิกผ่านหลายลิงก์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือตรงที่ โซลูชันนี้สามารถส่งทราฟฟิกโดยอิงตามนโยบายจุดประสงค์ของธุรกิจ (Business Intent Policy) ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้อย่างชาญฉลาดกับทุกลิงก์ที่กำหนดค่าไว้สำหรับการรวมสัญญาณการเชื่อมต่อแบบ Logical

มองหาความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญการใช้งานบริการ WAN แต่ละระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงสุด ยกตัวอย่างเช่น อาจใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต้นทุนต่ำสำหรับ
แอปพลิเคชันหรือเวิร์กโหลด (Workloads) ที่มีความสำคัญต่ำกว่า และเก็บการเชื่อมต่อ MPLS ไว้ใช้สำหรับทราฟฟิกที่มีความสำคัญสูงกว่า ซึ่งจะทำให้สามารถลดต้นทุนรวมของ WAN ลงได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ WAN ให้มากขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า

ประโยชน์จากการปรับสภาพเส้นทาง (Path Conditioning)

ลิงก์ WAN ทุกลิงก์อาจมีปัญหาด้านคุณภาพในการรับส่งสัญญาณ และปัญหาจะรุนแรงมากขึ้นหากใช้บริการ WAN คุณภาพต่ำ อย่างไรก็ดี ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับสภาพการเชื่อมต่อเพื่อยกระดับสมรรถนะ โดยการขจัดการรับส่งสัญญาณแพคเก็ตใหม่ (Retransmission) หรือกระแสข้อมูลที่เสียหาย (Corrupted Data Streams) จนทำให้สมรรถนะลดต่ำลง

เทคโนโลยีสำหรับการปรับปรุงสภาพเส้นทางมีสองแบบ แบบแรกคือ เทคโนโลยี Forward Error Correction (FEC) ซึ่งจะสร้างแพคเก็ตที่สูญหายระหว่างการรับส่งข้อมูลขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้การเชื่อมต่อบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตมักจะมีแพคเก็ตที่สูญหายมากกว่าแบบ MPLS หลายเท่าตัว แต่ระบบ FEC จะใช้วิธีแทรกแพคเก็ตแบบคู่เป็นระยะๆ เพื่อสร้างแพคเก็ตใดก็ตามที่สูญหายขึ้นมาใหม่ ทำให้ไม่ต้องรับส่งข้อมูลใหม่อีกครั้ง และยังเพิ่มสมรรถนะขึ้นได้อย่างมากด้วย

เทคโนโลยีแบบที่สองคือ Packet Order Correction (POC) ซึ่งจะตรวจจับแพคเก็ตที่มาถึงยัง
ปลายทางแบบผิดลำดับ และทำการปรับลำดับแพคเก็ตเหล่านั้นใหม่ให้ถูกต้อง ปัญหานี้มักพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแอปพลิเคชันแบบ Load-balancing วิ่งไปตามลิงก์ WAN แบบต่างๆ 
ทราฟฟิกของวิดีโอที่รับส่งแพคเก็ตผิดลำดับอาจส่งผลให้เกิดอาการภาพสะดุด อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายโอนไฟล์หรือการสำรองข้อมูล แพคเก็ตที่ผิดลำดับนี้อาจส่งผลทำให้ข้อมูลเสียหายได้ หากไม่มี POC อาจจะต้องทำการรับส่งใหม่ทั้งหมดในทุกลำดับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน

เพียงเท่านี้ท่านผู้อ่านคงจะได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาประสิทธิภาพของ SD-WAN ไปพอสังเขป แต่เส้นทางสู่ปรากฏการณ์แห่งสมรรถนะของ WAN ยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้โปรดติดตามตอนต่อไปในบทความหน้า

หากท่านผู้อ่านสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี SD-WAN ที่ขับเคลื่อนด้วยสมรรถนะและ Unity EdgeConnect สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Silver Peak ที่ https://www.silver-peak.com/products/unity-edge-connect

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย

NVIDIA เปิดตัว Blackwell B200 GPU และ GB200 Superchip

NVIDIA ประกาศเปิดตัว Blackwell B200 GPU และ GB200 Superchip ชิปประมวลผล AI รุ่นใหม่