CDIC 2023

[Interview] PCC มองทิศทาง อนาคต Digital Government ไทย ต้องปรับใช้ Cloud และ Automation พร้อมผสานศักยภาพของคนรุ่นใหม่

 

การทำ Digital Transformation ในหน่วยงานภาครัฐเพื่อก้าวสู่การเป็น Digital Government ให้ได้อย่างเต็มตัวนั้นยังคงเป็น Journey ที่ต้องเกิดขึ้นต่อเนื่องไปในอนาคต และ โปรเฟสชั่นนัลคอมพิวเตอร์ จำกัด (Professional Computer Co., Ltd.) หรือ PCC ในฐานะของธุรกิจผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ IT ของภาครัฐมาต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี ก็มีมุมมองที่น่าสนใจไม่น้อยเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตของ Digital Government สำหรับประเทศไทย

ในครั้งนี้ทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้สัมภาษณ์พูดคุยกับคุณวันชัย อานันทนสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท PCC ที่มีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาระบบดิจิทัลภาครัฐขนาดใหญ่หลากหลายโครงการ ที่ได้มาให้ความเห็นและข้อคิดที่น่าสนใจสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการผลักดันก้าวไปสู่การเป็น Digital Government Agency จึงขอนำสรุปประเด็นที่น่าสนใจจากการพูดคุยกันดังนี้ครับ

Digital Government Transformation Journey: ไม่ได้มีแต่เรื่องของเทคโนโลยี แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายด้วย

คุณวันชัยได้เล่าย้อนไปถึงประเด็นที่น่าสนใจในการปรับตัวของหน่วยงานภาครัฐในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับภัยโรคระบาดอย่าง COVID-19 และทำให้การทำงานต้องเปลี่ยนไปสู่รูปแบบของ Remote Working

ในช่วงเวลานั้นเอง เป็นเวลาที่หน่วยงานภาครัฐหลายแห่งทั่วประเทศต่างต้องเร่งปรับตัวครั้งใหญ่ มีการผ่อนปรนรูปแบบการทำงานจากเดิมที่ต้องเข้ามาทำงานภายในอาคารสถานที่ของหน่วยงาน ไปสู่การเปิดให้มีการทำงานจากที่บ้านได้ เพื่อให้การดำเนินงานในหน่วยงานต่างๆ ยังคงทำงานและให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ณ เวลานั้น

ความยืดหยุ่นดังกล่าวนี้เองที่ทำให้หน่วยงานภาครัฐหลายแห่งได้มีโอกาสในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการทำงานไปจนถึงมุมมองในการให้บริการประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์นำเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบมาใช้ในการทำงาน, การเริ่มใช้บริการ Cloud เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว, การเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการประชาชนไปสู่รูปแบบออนไลน์ และการให้ความสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เข้มข้นยิ่งขึ้นจากความเสี่ยงใหม่ๆ หลายประการที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการทำงานนี้ รวมถึงการบังคับใช้พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำให้มีการควบคุมและเฝ้าระวังในการดูแลรักษาข้อมูลประชาชนมากยิ่งขึ้น

สิ่งหนึ่งที่คุณวันชัยเห็นได้ชัดและเชื่อว่าหลายๆ คนเองก็คงเห็นภาพเดียวกันนั้น ก็คือการที่หน่วยงานภาครัฐหลายแห่งได้มีการปรับมุมมองในเรื่องของการพัฒนา Application สำหรับการให้บริการประชาชนที่หันมาใส่ใจในเรื่องของ User Interface (UI) และ User Experience (UX) ในการทำ Digitization เพื่อเปลี่ยนบริการภาครัฐหรือกระบวนการทำงานมาเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น โดยมีการนำแนวคิด Design Thinking เข้ามาปรับใช้ในการออกแบบบริการดิจิทัลต่างๆ เพื่อให้บริการภาครัฐแบบดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นมาให้บริการประชาชนนั้นสามารถใช้งานได้ง่ายดาย เข้าถึงผู้ใช้งานได้เป็นวงกว้าง และช่วยลดภาระหน้าที่การทำงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐลงได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ในแง่ของระบบหลังบ้านเอง คุณวันชัยได้เล่าเพิ่มเติมถึงหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งก็ได้เริ่มมีการเปิดกว้างต่อการนำบริการ Cloud เข้ามาใช้งานหรือลงทุนพัฒนาระบบ Cloud ของตนเอง, การทำ Integration ผสานเชื่อมรวมการทำงานของหลายๆ ระบบเข้าด้วยกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของข้อมูล, และกระบวนการทำงาน ทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูลในแต่ละภาคส่วนของหลายหน่วยงานเข้าด้วยกัน และมีตระหนักถึงความสำคัญเรื่องธรรมภิบาลข้อมูล (Data Governance) ว่าจะบริหารจัดการข้อมูลต่างๆ อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใช้ การควบคุมอย่างเป็นระบบ เพื่อมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนตัวของประชาชน และข้อมูลที่มีความสำคัญของหน่วยงานที่จัดเก็บไว้จะไม่เกิดการรั่วไหล เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีการประกาศออกมาบังคับใช้

ประเด็นเหล่านี้เองถือเป็นก้าวเริ่มต้นที่ดีของหน่วยงานภาครัฐไทยหลายแห่งที่ได้เริ่มต้นทำ Digital Transformation กันอย่างจริงจัง และเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมการทำงานในแต่ละหน่วยงานไม่มากก็น้อย ซึ่งก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายการทำงานกันมากขึ้นด้วย

คุณวันชัยได้ให้ความเห็นว่า จุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีของหน่วยงานภาครัฐไทย แต่ก็ยังมีประเด็นที่หลายหน่วยงานอาจต้องพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่กำลังจะมาถึงอีก เช่น การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างการใช้งานบริการต่างๆ ในรูปแบบ Cloud ให้มีความสอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติปัจจุบัน และให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การใช้บริการต่างๆ บนระบบของผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Service Provider) ซึ่งมักมีรูปแบบการใช้งานเป็นการคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง (Pay per Use) ทั้งแบบรายวัน รายเดือนหรือรายปี มาตรฐานการให้บริการของแต่ละผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน จะทำอย่างไรจึงจะปรับแนวคิด ปรับกระบวนการในการตั้งงบประมาณ การตรวจรับ และการเบิกจ่าย ให้สอดคล้องไปด้วยกัน ประเด็นนี้จะช่วยทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถขยับตัวได้รวดเร็วและคล่องตัวยิ่งขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งมีความสอดคล้องต่อความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

 

Cloud, AI, Automation, Cybersecurity: 4 เทรนด์ใหญ่ที่หน่วยงานภาครัฐต้องจับตามอง

เมื่อชวนคุยถึงภาพในอนาคตของ Digital Government คุณวันชัยก็ได้สรุปถึง 4 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่

Cloud – จากการที่หน่วยงานภาครัฐเริ่มเปิดกว้างและมีการใช้งาน Cloud มากขึ้น ผสานรวมกับข่าวที่เหล่าบริการ Public Cloud ชั้นนำหลายรายทั่วโลกได้มีการลงทุนเพื่อเตรียมเปิด Data Center และให้บริการในประเทศไทย คุณวันชัยจึงเชื่อว่าการใช้งานบริการ Cloud ในภาครัฐจะยิ่งเติบโตมากขึ้นไปอีกหลังจากนี้ ซึ่งภาครัฐเองก็คงจะต้องมีการพูดคุยกันในเรื่องของนโยบายให้ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางของการใช้ Cloud และการปรับกระบวนการทำงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับรูปแบบของ Cloud ต่อไป รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีโดยมีแนวคิด Hybrid Multicloud เป็นพื้นฐาน เพื่อให้การนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้งานมีความยืดหยุ่นคุ้มค่าสูงสุดในอนาคต

AI – ถือเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองและติดตามมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ChatGPT และเหล่า Generative AI ได้เป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจาก AI โดยถึงแม้ทุกวันนี้หน่วยงานภาครัฐหลายแห่งอาจจะยังไม่พร้อมที่จะสร้างหรือพัฒนา AI ของตนเอง แต่การวางรากฐานที่ดีเรื่องข้อมูลหรือ Data ในองค์กรเองก็เป็นก้าวแรกที่ควรจะเริ่มต้นได้ทันที เช่น การทำ Data Integration, การทำ Data Governance ไปจนถึงการศึกษาถึงแนวทางในการพัฒนา AI เฉพาะทางของแต่ละหน่วยงาน และการผสานระบบลองนำเทคโนโลยี AI ใหม่ๆ เข้ามาใช้ช่วยในการทำงาน โดยเฉพาะในส่วนของการติดต่อสื่อสารกับภาคประชาชนผ่านระบบ Contact Center ในช่องทางต่างๆ

Automation – แม้คำนี้จะเป็นคำที่ได้ยินกันมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐได้อยู่เสมอ ทั้งการทำ Automation ในส่วนของกระบวนการและการจัดการข้อมูลของภาครัฐ ไปจนถึงการประยุกต์นำ AI มาใช้งาน ซึ่งคุณวันชัยก็ระบุว่าที่ผ่านมาหลายหน่วยงานเองก็ยังมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการทำ Automation ให้กับแต่ละส่วนหรือกระบวนการอยู่ ทำให้เทคโนโลยีอย่าง RPA, OCR และ API ก็ยังเป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องเรียนรู้และประยุกต์นำมาใช้งานต่อไป

Cybersecurity – เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น แน่นอนว่าประเด็นด้าน Cybersecurity เองก็ย่อมต้องเข้มข้นยิ่งขึ้นตามไปด้วย ซึ่ง Cybersecurity ก็ต้องมีความครอบคลุมทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ Hardware, Software, Data, Network, Process และ People ซึ่งแม้ว่าปัจจัยด้าน Cybersecurity จะทำให้โครงการโดยรวมมีความซับซ้อนสูงขึ้น และมีภาระหน้าที่ใหม่ๆ ต่อเจ้าหน้าที่ภาครัฐและบริษัท IT ที่เข้าไปให้บริการ แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

 

PCC เลือกโซลูชัน IBM ตอบโจทย์การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ให้กับโครงการ Digital Transformation ของหน่วยงานภาครัฐ

แน่นอนว่าในการดำเนินโครงการภาครัฐ การออกแบบและนำเสนอระบบ IT แบบครบวงจรนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของโครงการ ซึ่งคุณวันชัยก็ได้เผยว่าทาง PCC นั้นเลือกที่จะนำเสนอโซลูชัน ของ IBM ให้แก่หน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก จากปัจจัยหลายประการ ได้แก่

ความน่าเชื่อถือ – IBM เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินทั่วโลกมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีในทั้ง Hardware (เช่น IBM Storage, IBM Power เป็นต้น) และ Software ที่มีความสามารถพร้อมสนับสนุนการทำ transformation การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเป็น Hybrid Cloud และแม้กระทั่งการใช้งาน AI ในระดับองค์กร  หรือ Cybersecurity ทาง IBM จึงถือว่ามีความพร้อมและครบถ้วนสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ทำให้ในหลายๆ โครงการ PCC ได้เลือกนำ Technology Stack จาก IBM มาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนา Software ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งยังมีการทำ Risk Management ทั้งด้วยการทำ Backup, Disaster Recovery, Cybersecurity และ Data Privacy อย่างครบวงจร

การให้คำปรึกษา – เนื่องจาก IBM นั้นมีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการดิจิทัลทั่วโลก และยังมีประสบการณ์ในไทยมานาน ดังนั้นทีมงาน IBM จึงสามารถให้คำปรึกษาและแบ่งปันประสบการณ์หรือตัวอย่างของการทำโครงการในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี ทำให้การออกแบบเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้นมีมุมมองที่รอบด้าน ผสมผสานจากองค์ความรู้ทั่วโลกในหลากหลายอุตสาหกรรมนำมาปรับใช้ได้ในโครงการ

ความเชี่ยวชาญ – ทีมงาน PCC เองนั้นมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีของ IBM มาเป็นเวลากว่า 30 ปี จึงมั่นใจในการนำเสนอโซลูชันของ IBM ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการดูแลรักษา ที่ทีมงาน PCC จะสามารถทำงานร่วมกับทีมงาน IBM เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างรอบด้านในทุกแง่มุมตลอด 24 ชั่วโมง

การต่อยอด – ความหลากหลายของโซลูชันต่างๆ จาก IBM นั้นเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้ PCC เลือกนำเสนอ IBM เพราะการทำโครงการภาครัฐใดๆ นั้นมักจะเป็นโครงการในระยะยาว การวางแผนเผื่ออนาคตและการมีทางเลือกในการต่อยอดที่หลากหลายจึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้โซลูชันของ IBM มีความโดดเด่นนั่นเอง

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ PCC เชื่อมั่นว่าการนำเสนอโซลูชัน IBM จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่ PCC จะนำเสนอให้แก่หน่วยงานภาครัฐได้ และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง PCC และ IBM ในตลาดภาครัฐมีความเข้มแข็งมาโดยตลอด

 

ความท้าทายในโครงการ Digital Transformation ของภาครัฐ และข้อคิดจาก PCC

ในประสบการณ์การทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐเป็นเวลากว่า 30 ปี คุณวันชัยพบว่าความท้าทายสำคัญที่สุดที่หน่วยงานภาครัฐต้องเผชิญในการทำ Digital Transformation นั้นกลับไม่ได้เป็นเรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของ “การบริหารทรัพยากรบุคคล”

จากมุมมองของคุณวันชัย การดำเนินโครงการ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จนั้น ปัจจัยเรื่องคนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการทำ Digital Transformation ที่ดี การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่เกิดขึ้นจากบุคคลเพียงคนเดียว แต่เป็นการขับเคลื่อนทั้งองค์กรไปด้วยกัน ทำให้โครงการเหล่านี้มีความแตกต่างจากโครงการระบบ IT ภาครัฐในอดีตอย่างสิ้นเชิง

คุณวันชัยได้สรุปถึงข้อคิด 4 ข้อที่สังเกตได้จากหลายๆ โครงการ Digital Transformation ภาครัฐที่ประสบความสำเร็จ ว่ามีจุดร่วมที่น่าสนใจดังนี้

 

1. การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

คุณวันชัยระบุว่าโครงการ Digital Transformation ที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องมีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของจากผู้รับผิดชอบโครงการและผู้เกี่ยวข้องทุกๆ คนร่วมกัน เพราะแต่ละโครงการนั้นมักมีขนาดใหญ่และมีโครงสร้างที่ซับซ้อน รวมถึงต้องมีการตัดสินใจจากหลายภาคส่วน ดังนั้นการรับผิดชอบผลักดันอย่างจริงจังจากทุกคนที่เกี่ยวข้องในโครงการ จึงจะช่วยให้การกำหนดทิศทางและการขับเคลื่อนโครงการเป็นไปได้อย่างเหมาะสม ตอบโจทย์ที่แท้จริงสำหรับทุกคนได้สำเร็จ

 

2. การสื่อสารที่ดีต่อผู้บริหารด้านนโยบาย

ในการทำ Digital Transformation ใดๆ ในภาครัฐนั้น มักเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือกระบวนการทำงานครั้งใหญ่ และแน่นอนว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบหรือนโยบายเพื่อให้สอดคล้องต่อทิศทางที่จะต้องมุ่งไป ดังนั้นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั้นก็คือการสื่อสารที่ชัดเจนไปยังผู้บริหารด้านกฎระเบียบหรือนโยบาย เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ และช่วยให้โครงการที่คิดขึ้นมาถูกขับเคลื่อนไปสู่การนำไปใช้งานจริงได้ ตอบโจทย์ต่อทั้งกระบวนการใหม่ที่ออกแบบมาด้วยแนวคิด Design Thinking และการกำหนด User Experience ที่ดีต่อผู้ใช้งานที่อาจเป็นเจ้าหน้าที่ภายในองค์กรเอง หรือภาคประชาชนก็ตาม

 

3. การกำหนดลำดับความสำคัญของโครงการให้สูง

แน่นอนว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐหลายๆ ท่านเองก็ย่อมมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบอยู่ไม่น้อย ทำให้หลายครั้งโครงการ Digital Transformation นั้นก็ได้กลายเป็นอีกภาระหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มเติมให้กับเจ้าหน้าที่แต่ละคน ส่งผลให้การดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพราะผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นอาจไม่สามารถแบ่งเวลามาจัดการงานในส่วนนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการกำหนดลำดับความสำคัญของโครงการเหล่านี้ให้สูงและสื่อสารถึงความสำคัญนี้ให้ชัดเจน ก็จะช่วยให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

 

4. การเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาเปลี่ยนแปลง

สุดท้าย สิ่งที่คุณวันชัยได้เห็นจากประสบการณ์ที่ผ่านมานั้น คือการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมเปลี่ยนแปลงผ่านการทำ Digital Transformation ของหน่วยงานภาครัฐ เพราะเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ๆ นั้นนอกจากจะมีศักยภาพและความชำนาญด้านเทคโนโลยีแล้ว ก็ยังมีมุมมองและความเข้าใจต่อความต้องการของประชาชนรุ่นใหม่อีกด้วย ดังนั้นในโครงการที่สำคัญนี้ จึงควรต้องมีการรับฟังข้อคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่รัฐรุ่นใหม่ หรือเปิดให้เจ้าหน้าที่รัฐรุ่นใหม่นี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในโครงการโดยตรง ซึ่งจะทำให้หน่วยงานรัฐไม่ถูกยึดติดกับแนวคิดและแนวระเบียบปฏิบัติแบบเดิมๆ และอาจจะแนวคิดและมุมมองใหม่ๆ รวมถึงยังได้สร้างบุคลากรอันทรงคุณค่าต่อหน่วยงานขึ้นมาอีกด้วย ทั้งนี้ผู้บริหารเองควรให้โอกาสและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ๆ ได้แสดงศักยภาพของตัวเองให้เต็มที่ และรับบทบาทในฐานะของผู้ใหญ่ผ่านประสบการณ์มามากกว่าที่คอยให้ความช่วยเหลือแนะนำ แชร์มุมมองจากประสบการณ์ในแง่มุมต่างๆให้กับคนรุ่นใหม่แทน

สามารถค้นหาตัวอย่างของการนำเทคโนโลยี IBM Cloud API Connect ไปปรับใช้กับองค์กรต่างๆ https://www.ibm.com/case-studies/ctil-cement-division-hybrid-cloud-integration-api-connect

หรือตัวอย่างการนำ IBM Cloud Pak for Business Automation ไปปรับใช้ เช่น  https://www.ibm.com/case-studies/mng-kargo-cloud-pak

 

ช่องทางการติดต่อทีมงาน PCC

สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่สนใจ สามารถติดต่อทีมงาน PCC ได้ทันทีที่

http://www.pccth.com/

โทรศัพท์ : 02-106-6000

Email : marketing@pccth.com


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

[รีวิว] Acer Swift Go 16 ตอบโจทย์การใช้งานธุรกิจ เบา บาง พร้อมพกพาทุกสถานการณ์

ปัจจุบันการทำงานอย่างอิสระจากสถานที่ต่างๆ ถือเป็นวัฒนธรรมของหลายองค์กรไปแล้ว หลังจากการปรับตัวครั้งใหญ่จากการมาถึงของการแพร่ระบาด โดยปัจจัยหลักที่ผู้คนมักมองหาเป็นอันดับแรกก็คือสเป็คการประมวลผลที่รวดเร็ว ตอบโจทย์การใช้งานอย่างหลากหลาย หากมีหน้าจอใหญ่แต่ยังรักษาความเบาไว้ได้ยิ่งดี เพราะให้ประสบการณ์ความบันเทิงและการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสรีวิวสินค้าจากค่าย Acer ซึ่งถูกออกแบบมาด้วยคุณสมบัติข้างต้น ในราคาย่อมเยาว์ โดยโน๊คบุ๊คตัวนี้ก็คือ Acer …

Raceku Webinar: Biggest Trends and Challenges Reshaping the Future of Service Industry

IFS ร่วมกับ Raceku Thai ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการธุรกิจ รวมถึงผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน IT เข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์เรื่อง “Biggest Trends and Challenges Reshaping the Future …