[Guest Post] เมื่อเทคโนโลยี 5G+ กำลังส่งสัญญาณสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการอุตสาหกรรมเมืองไทย

อุตสาหกรรมที่มีความ hyper productive สามารถปรับขนาดกิจการ และมีความยืดหยุ่นสูงในการดำเนินธุรกิจจะเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เดินหน้าต่อไปได้

บทความโดย ธนัตถ์ เตชะธนบัตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทยและกัมพูชา

 

ดิสรัปเตอร์ครั้งใหญ่ระดับโลกอย่าง โควิด-19 ที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานของพวกเราไปอย่างสิ้นเชิง เราเองได้มีการปรับตัวและคาดหวังถึงอนาคตที่ดีขึ้น พร้อมไปกับภาคเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ที่ได้มีการปรับตัวผ่านนวัตกรรมดิจิทัล

ท่ามกลางวิวัฒนาการในครั้งนี้ บางธุรกิจได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาด ในขณะที่รายอื่นอีกไม่น้อยยังคงไล่ตามไม่ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ตัวอย่างเช่น การแพร่ระบาดของโรคในครั้งนี้เป็นเสมือนตัวกระตุ้นให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจนเอื้อให้ภาคธุรกิจที่ดำเนินการด้านระบบดิจิทัลอยู่แล้ว อย่าง อีคอมเมิร์ซเฟื่องฟูมากขึ้นในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม การดิสรัปชั่นได้ส่งผลในทางตรงกันข้ามให้กับอุตสาหกรรมทางกายภาพมากขึ้น เนื่องจากความถดถอยของเศรษฐกิจในภาพรวม อาทิ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ผลิตขนาดเล็กและไม่ค่อยได้ใช้เทคโนโลยี ขณะที่ภาคการขนส่งสาธารณะก็ถูกเรียกร้องให้มีการปรับปรุงการดำเนินการและมาตรการป้องกันโควิด-19 ให้ดียิ่งขึ้น แม้ในขณะนี้ ถึงแม้ว่าความท้าทายต่าง ๆ ในด้านสังคมเศรษฐกิจยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยก็ยังคงเดินหน้าตามแผนงานที่จะผลักดันประเทศสู่การเป็นสมาร์ตซิตี้ เช่น การใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อเพื่อบรรเทาทุกข์ด้านสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

ปัจจุบันประเทศไทย ซึ่งรวมถึงธุรกิจในหลาย ๆ ประเภทและภาคส่วนทั้งหลายกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัล ทว่าการเปลี่ยนผ่านนี้ก็ยังถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมทางกายภาพ  ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถยืนหยัดและอยู่รอดต่อการดิสรัปชั่นในอนาคตได้นั้น พวกเขาจำเป็นต้องมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่รัดกุมและลงทุนมากขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 และควรที่จะวางแผนสนับสนุนผลักดันแผนยุทธศาสตร์ชาติอย่าง “ไทยแลนด์ 4.0” อีกด้วย

เทคโนโลยี 5G ได้เปิดตัวแล้วในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นเวลาที่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศควรจะเริ่มประเมินและดำเนินการว่าจะทำอย่างไรเพื่อเชื่อมต่อและเชื่อมโยง next-gen connectivity ให้เข้ากับระบบนิเวศอันกว้างขวางของเทคโนโลยีหลัก หรือที่เรียกโดยรวมว่า 5G+ นั่นเอง ซึ่งสิ่งนี้คือการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ของการก้าวสู่อุตสาหกรรมดิจิทัล นั่นคือ ผู้ที่สามารถช่วยให้หลาย ๆ บริษัทในประเทศไทยสามารถก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำระหว่างการลงทุนเชิงดิจิทัล และการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น

 

5G+ คืออะไร

แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังดำเนินต่อไป แต่การผลักดันในเรื่องเทคโนโลยี 5G กลับมีผลกระทบเพียงเล็กน้อย เศรษฐกิจของเอเชียมีการปรับแผนงานเกี่ยวกับ 5G ให้มีความเข้มข้นมากขึ้น จนถึงจุดที่การเตรียมตัวระดับภูมิภาคนั้นล้ำหน้าไปไกลเกินตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างแถบยุโรป และด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประเทศไทยกลายมาเป็นหนึ่งในประเทศลำดับต้น ๆ ของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เปิดบริการ 5G เพื่อการค้า

ในเวลาไม่นาน 5G ก็จะแพร่หลายมากขึ้นทั่วประเทศไทยและในภูมิภาคอื่น ๆ กระนั้น อุตสาหกรรมทางกายภาพกำลังมุ่งเป้าที่จะเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของ next-gen connectivity ที่ต้องเป็นมากกว่าแค่เครือข่าย 5G พื้นฐาน

ภาพที่1: การยอมรับการเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลในอุตสาหกรรมทางกายภาพ

 

เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับเทคโนโลยี 5G+ อย่างแท้จริง ผู้ประกอบการของไทยจะต้องไม่เพียงแค่มีเครือข่าย 5G เท่านั้น แต่จะต้องสามารถผสานมันเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานทางอุตสาหกรรมขององค์กร (OT) ให้ได้อีกด้วย นั่นหมายถึงการปฏิรูปทั้งระบบดิจิทัลและระบบกายภาพที่จะสามารถทำงานเสริมซึ่งกันและกันเพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่องค์กร

แม้ในขณะนี้ องค์ประกอบต่าง ๆ จะช่วยเสริมทั้งระบบดิจิทัล และระบบกายภาพทางอุตสาหกรรม แต่ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าโซลูชั่น 5G+ ตัวใดควรที่จะนำขึ้นมาใช้ก่อนเป็นอันดับแรก Nokia Bell Labs ได้นิยาม การประเมินกระบวนการ​ปฏิบัติงานและการจัดการ (Enablers) ของเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรม 5G+ คือ เครือข่าย 5G ที่แพร่หลาย, แพลตฟอร์มเทคโนโลยี Edge และคลาวด์, เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง, เครือข่ายส่วนตัว, เซ็นเซอร์ขั้นสูงและหุ่นยนต์, การรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร (end-to-end (E2E) security), และรูปแบบการดำเนินการทางธุรกิจแบบ Network-as-a-Service (NaaS)

ควบคู่ไปกับ enabler ดังกล่าวข้างต้น 5G+ ยังรวมถึง enterprise applications บริการ และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยเทคโนโลยีที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สิ่งเหล่านี้ประกอบด้วย enterprise computing platforms โปรแกรมสำหรับงานทั่วไปและงานเฉพาะด้านแนวดิ่ง (รวมถึง การพัฒนาโปรแกรม และโซลูชั่น Business Intelligence) นอกจากนี้ ยังรวมถึงบริการ professional and managed services และโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยี 5G+

โซลูชั่นเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่าง ๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน 5G+ ได้ดีขึ้นเมื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการปรับวิธีการดำเนินงานสู่ระบบดิจิทัล การนำ 5G และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน จะสามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลาย และเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการใช้งานจริงในอนาคตตามที่ตั้งเป้าไว้

 

ประโยชน์ของ SPE และ enabler ของ 5G + เพื่อผลกำไรเชิงกลยุทธ์

งบประมาณด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของวิสาหกิจไทยได้ตั้งขึ้นเพื่อสร้างผลตอบแทนที่สมควรจะได้รับ  ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าองค์กรทางกายภาพของชาติ ทั้งส่วนที่เป็นบริษัทชั้นนำในประเทศและที่กำลังปรับตัวสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้ และได้รับประโยชน์สูงสุดในเวลาที่เร็วขึ้นและปริมาณที่มากขึ้น  ทั้งนี้องค์กรเหล่านั้นจะต้องรู้จักปรับใช้เทคโนโลยี 5G+ ของตัวเองอย่างเหมาะสม เพื่อเสริมศักยภาพทางด้านดิจิทัลให้กับองค์กร ควบคู่ไปกับแนวทางของการปรับปรุงด้าน SPE (ความปลอดภัย, ผลผลิต และ ประสิทธิภาพ)

การจะทำความเข้าใจว่า 5G+ และ SPE นั้นจะช่วยพัฒนาได้อย่างไร เราจะต้องใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AugI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง ที่เป็น enabler ของเทคโนโลยี 5G+ มาเป็นตัวตั้งค่าในกระบวนการผลิต

อันดับแรก  การพัฒนาระบบความปลอดภัย สามารถใช้เป็นตัววัดจำนวนที่ลดลงของเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย เช่น ระบบ AugI/ML เมื่อใช้ร่วมกับระบบการตรวจจับวิดีโออัจฉริยะ (intelligent video sensing) จะทำให้โรงงานสามารถคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุได้ล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์จริง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงในด้านความปลอดภัยทั้งส่วนของแรงงานและอุปกรณ์ไปพร้อมกัน

ขณะเดียวกัน การปรับปรุงด้านประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มผลผลิต หมายถึง การเพิ่มปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผลิตจากฐานการผลิตเดียวกัน ซึ่งสิ่งนี้คือปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ถึงการพัฒนาปรับปรุงตามแนวทาง SPE ซึ่งการใช้ระบบ AugI/ML จะช่วยเพิ่มความสามารถของโรงงานในการคาดการณ์ความต้องการของตลาดได้อย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งช่วยให้วางแผนดำเนินงานล่วงหน้าได้ ขณะเดียวกันยังเป็นการลดเวลาในการตอบสนองและเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดในการดำเนินงานอีกด้วย นอกจากนี้ ระบบ AugI/ML ยังช่วยในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ/หรือระบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการผลิตให้ได้มากตามความต้องการพร้อมกับปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ประการสุดท้าย การปรับปรุงประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการลดจำนวนการใช้ทรัพยากรโดยยังสามารถรักษาระดับผลผลิตได้คงเดิม อาทิ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการตรวจจับ (innovative sensory technologies) ที่ได้รับการพัฒนาด้วยระบบ AugI/ML จะสามารถตรวจจับความบกพร่องของเครื่องจักรในโรงงานได้ก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นการช่วยลดอุปสรรคที่ไม่คาดคิดลงได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์เนื้อหาของภาพวีดีโอ (video analytics) ที่สามารถแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เพื่อป้องกันการสูญเสียทรัพยากร ทั้งยังเป็นการช่วยให้โรงงานสามารถควบคุมการปฏิบัติงานได้แบบเรียลไทม์ เพื่อให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณน้อยที่สุด

เนื่องจาก enabler ของ 5G+ สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน การทำงานตามแนวทางของ SPE จะช่วยเสริมศักยภาพให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินกิจการได้ดียิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องความรวดเร็วและปริมาณ นอกจากนี้องค์กรยังสามารถพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นได้อีกผ่านโมเดลการดำเนินการทางธุรกิจแบบ Network-as-a-Service (NaaS) (โดยเฉพาะภาคส่วนที่ใช้การตั้งโปรแกรมแบบอัตโนมัติและตั้งเป้าไปที่เทคโนโลยี 5G เป็นหลัก) รวมถึงเครือข่าย redundancy ที่ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับโปรแกรมอัจฉริยะสำหรับธุรกิจที่ได้รับการพัฒนาแล้วด้วยเครื่องมือเสริมทางดิจิทัล

โรงงานของเราในเมืองโอวลุ ประเทศฟินแลนด์  ยังคงทดลองใช้งาน 5G+ ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง (เช่น เครือข่าย E2E 5G และ Cloud Automation) เพื่อไปเสริมการทำงานของแอปพลิเคชัน การบริการ และแพลตฟอร์มต่าง ๆ  ทั้งนี้ ในประเทศไทย เรากำลังทำงานร่วมกับสองผู้ให้บริการด้านการสื่อสารชั้นนำของประเทศ ในการนำ 5G มาเสริมการทำงานของคลาวด์โซลูชั่น และการสร้างสาธารณูปโภคสำหรับเครือข่าย pervasive 5G ให้กับการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น

รูปที่ 2: เทคโนโลยี 5G+ ขับเคลื่อนตามแนวทาง SPE ในอุตสาหกรรมทางกายภาพ

 

วิถีใหม่ของอุตสาหกรรมผ่าน 5G+   

ในช่วงแรกของการเกิดโรคระบาดโควิด-19 การจัดงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไทยเคยถูกคาดการณ์ว่าจะลดลงจากหลายปีก่อน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อเข้ามารับมือกับความท้าทายของวิกฤตที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่ การคาดการณ์นี้ได้เกิดขึ้นหลังจากที่องค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ได้ปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ดังกล่าว จึงนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย  ซึ่งสิ่งนี้ยังรวมถึงศักยภาพของหลายอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการที่สามารถใช้ประโยชน์จาก 5G ได้มากขึ้น กล่าวคือประเทศไทยได้พัฒนามาถึงจุดที่เห็นความสำคัญและยอมรับเทคโนโลยี 5G+ ในวงกว้าง

รูปที่ 3: เส้นทางสู่วิถีใหม่

 

การนำ 5G+ มาใช้ในวงกว้าง คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาคมีความมั่นคงขึ้นควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งความพร้อมใช้การใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างแพร่หลายจะก่อให้เกิดจุดคุ้มทุนในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย นำโดยกลุ่มอุตสาหกรรมทางกายภาพทั้งที่เป็นผู้นำและผู้ที่กำลังปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัล

แม้ในขณะนี้ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องทำ และเศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวจากโควิด19 ผู้ประกอบการในประเทศไทยควรเริ่มวางแผนการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารควบคู่ไปกับ 5G+ ตั้งแต่ตอนนี้

เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม ภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศไทยควรเริ่มปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการตระหนักถึงประโยชน์ในการดำเนินงานตามแนวทาง SPE (Safety – ความปลอดภัย, Productivity – ผลผลิต, และ Efficiency – ประสิทธิภาพ) ที่จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อประเทศมีการยอมรับการใช้ 5G+ อย่างแพร่หลาย ซึ่งจะส่งผลดีทั้งด้านเศรษฐกิจและผลลัพธ์ในวงกว้าง

About Maylada

Check Also

Coursera เจาะเทรนด์ผู้เรียนไทยพุ่งทะยานสู่ยุค AI ด้วยยอดเรียน GenAI เพิ่มขึ้น 330% ในปี 2024 [PR]

Coursera, Inc. (NYSE: COUR), แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ระดับโลก เปิดเผยแนวโน้มผู้เรียนของประเทศไทย อ้างอิงจากข้อมูลเชิงลึกจากผู้ลงทะเบียนกว่า 1 ล้านคนในปีนี้ โดยพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้เรียนเพิ่มขึ้น 20% จากกลุ่มผู้เรียนทั้งหมดใน Coursera ซึ่งตอกย้ำถึงเป้าหมายและความมุ่งมั่นของคนไทยในการพัฒนาทักษะและรักษาความสามารถการแข่งขันในตลาดแรงงานโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว …

Dataiku เปิดตัว Dataiku Stories ใช้ Gen AI เล่าเรื่องจากข้อมูล

Dataiku สตาร์ทอัพด้านการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ประกาศเปิดตัว Dataiku Stories โซลูชันการเล่าเรื่องจากข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย Gen AI ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและเปลี่ยนข้อมูลขององค์กรให้กลายเป็นงานนำเสนอในรูปแบบภาพได้อย่างง่ายดาย