การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหารือเรื่องการควบรวมกิจการ ซึ่งจะทำให้ตลาดมือถือไทยมีการเปลี่ยนจำนวนผู้ให้บริการจากสามเหลือเพียงเพียงสองค่ายเท่านั้น
True และ DTAC ไม่ได้เข้าร่วมการพิจารณาด้านกฎระเบียบในการประชุมครั้งนี้ แต่ทั้งสองจะนำเสนอแผนการบริหารหลังจบดีลนี้ เพื่อสร้างความชัดเจนให้กับตลาดว่าจะยังคงแข่งขันได้หลังจากการควบรวมกิจการในอนาคต
ภาพรวมของตลาดผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในประเทศไทย
-
ผู้นำตลาดปัจจุบันของประเทศไทยยังเป็นค่าย AIS โดยปัจจุบันมีฐานลูกค้าที่ใช้บริการกว่า 44 ล้ายราย
-
True และ DTAC อันดับสองและสาม ถ้าควบรวมกิจการสำเร็จจะกลายเป็นผู้นำรายใหม่ทันที ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการประมาณ 50 ล้านราย
ครั้งแรกที่ทั้งคู่ประกาศความตั้งใจที่จะรวมกิจการเข้าด้วยกันเมื่อปลายปี 2564 ต่างมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันหนาหูจากคู่แข่งและองค์กรผู้บริโภค เนื่องจากพื้นที่ตลาดจะเปลี่ยนไปจากสามเป็นสองผู้ให้บริการทันที การให้บริการแบบผูกขาดเป็นความเสี่ยงที่ยกขึ้นมาพูดกันมากที่สุด เพราะเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา ได้เกิด MVNO แบบผูกขาดขึ้นมาแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นโดยองค์การของรัฐเอง
-
มุมวิพากษ์วิจารณ์จากคู่แข่ง AIS ออกมาเตือนว่า การควบรวมกิจการจะทำให้ตลาดเกิดการผูกขาด และจะเป็นการกีดกันผู้เล่นรายใหม่เข้าสู่ตลาดในอนาคตได้
-
มุมวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรผู้บริโภค ออกมาคัดค้าน โดยอ้างว่าการควบรวมกิจการจะส่งผลร้ายแรงระยะยาวสำหรับผู้บริโภคชาวไทย
-
เสียงคัดค้านอื่นๆ ได้แก่ คุณสมเกียรติ ตั้งกิจวานิช ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่าข้อมูลแสดงให้เห็นว่าตลาดไทยมีคะแนนดัชนี Herfindahl-Hirschman (HHI) สูงอยู่แล้ว และการควบรวมกิจการจะทำให้แย่ลง
HHI เป็นตัววัดความเข้มข้นของตลาดทั่วไป และใช้เพื่อกำหนดความสามารถในการแข่งขันของตลาด
-
คะแนนน้อยกว่า 1,500 ถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง
-
คะแนนมากกว่า 2,500 ถือว่าเข้มข้นมาก
-
ตลาดมือถือของไทยมีอยู่แล้ว 3,700 คะแนน และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 5,016 หากการควบรวม DTAC–True ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อไป (ข้อมูลจาก คุณสมเกียรติ HHI เสริมไว้)
เมื่อปีที่ผ่านมา TOT หรือ บมจ. ทีโอที ได้ควบรวมกิจการกับ CAT Telecom หรือ บมจ. กสท โทรคมนาคม เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดยใช้ชื่อทางการตลาดว่า NT โดยที่รัฐเป็นเจ้าของ ซึ่งทำให้บริการเครือข่ายแบบค้าส่งเกิดการแบบผูกขึ้นสำหรับทั้ง 4 MVNO ในประเทศไทย
ทั้ง True และ DTAC จะต้องพิสูจน์แผนการบริหารให้ได้ว่า ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จริง มากกว่าความเสี่ยงจากการการผูกขาด ถึงแม้ว่าในการประชุมจะไม่มีผู้คัดค้านการควบรวมกิจการก็ตาม สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ การประกาศความสำเร็จในการจับมือร่วมกันเรียบร้อยแล้ว เรื่องนี้จะต้องติดตามกันต่อไป