ผลสำรวจชี้ ผู้ใช้สบายใจกับการสแกนลายนิ้วมือมากที่สุด

ผลสำรวจจาก Center for Identity ของ The University of Texas at Austin เผย ผู้ใช้รู้สึกสบายใจกับการพิสูจน์ตัวตนแบบไบโอเมทริกซ์ด้วยการสแกนลายนิ้วมือมากที่สุด ในขณะที่การจดจำใบหน้าก่อให้เกิดความรู้สึกอึดอัด

Center for Identity ได้ทำการสำรวจผู้บริโภครวม 1,000 รายทั่วสหรัฐฯ จากหลากหลายเพศ วัย และศาสนา ผลปรากฏว่า ผู้ตอบแบบสำรวจประมาณ 58% รู้สึกสบายใจกับการสแกนลายนิ้วมือมากที่สุด เมื่อต้องพิสูจน์ตัวตนแบบไบโอเมทริกซ์ ตามมาด้วยการสแกนฝ่ามือ และลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่การจดจำใบหน้าเป็นวิธีการพิสูจน์ตัวตนที่ผู้ใช้รู้สึกอึดอัดมากที่สุด

ในขณะที่เทคโนโลยีไบโอเมทริกซ์เริ่มเป็นที่แพร่หลายและใช้งานกันมากขึ้น ผลสำรวจยังระบุอีกว่า 92% ของผู้บริโภคในปัจจุบันรู้สึกโอเคกับการใช้เทคโนโลยีไบโอเมทริกซ์มากกว่าหรือเทียบเท่ากับเมื่อ 2 ปีก่อน และมีเพียง 8% เท่านั้นที่รู้สึกแย่ลง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่สบายใจที่จะใช้แอปพลิเคชันไบโอเมทริกซ์ของบริษัทเอกชนมากกว่าแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยหน่วยงานรัฐที่มีกฎหมายมาเกี่ยวข้อง

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายใจนั้น อันดับหนึ่งคือตัวเทคโนโลยีไบโอเมทริกซ์เองที่ผู้ใช้รู้สึกว่าความเป็นส่วนบุคคลถูกรุกล้ำ รองลงมาคือความเสี่ยงที่จะถูกติดตามโดยหน่วยงานรัฐ และข้อมูลอัตลักษณ์ถูกขโมย

ผู้ที่สนใจสามารถผลสำรวจฉบับเต็มได้ที่: https://identity.utexas.edu/assets/uploads/publications/Consumer-Attitudes-About-Biometrics.pdf

ที่มา: https://www.helpnetsecurity.com/2018/05/04/biometrics-consumers-comfortable/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เจาะลึกเครื่องมือการโจมตีแบบร้ายแรง Web DDoS “MegaMedusa” โดยกลุ่มก่อการร้ายทางโลกไซเบอร์ “RipperSec”

RipperSec เป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวจากมาเลเซียหรือที่ถูกจัดประเภทว่าเป็นแฮ็กเกอร์ประเภท Hacktivism ทั้งนี้มีแรงจูงใจมาจากความขัดแย้งระหว่างอิสลาเอลและชาติมุสลิม โดยคนร้ายมีการใช้เครื่องมือเพื่อทำ We DDoS ที่ชื่อว่า MegaMedusa โดยในบทความนี้ Radware จะชวนทุกท่านมาติดตามการดำเนินงานและกลยุทธ์ของเครื่องมือดังกล่าว โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้

GitLab แก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงสูงในการยืนยันตัวตนแบบ SAML

GitLab ออกอัปเดตความปลอดภัยแก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงสูงในการยืนยันตัวตนแบบ SAML ที่ส่งผลกระทบต่อ GitLab Community Edition (CE) และ Enterprise Edition (EE) แบบ self-managed