AV-Comparatives องค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัส และโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ออกรีวิวโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์โมบายล์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ประจำปี 2015 รวมทั้งสิ้น 16 ผลิตภัณฑ์ สามารถดูสรุปการรีวิวได้ ดังนี้
อุปกรณ์ที่เข้าร่วมการทดสอบและรีวิว
- AhnLab V3 Mobile Security 3.0.3.4
- Antiy AVL for Android 2.3.12
- Avast Mobile Security & Antivirus 4.0.7886
- AVG AntiVirus 4.4
- Avira Antivirus Security 4.1
- Baidu Mobile Guard 6.6.0
- Bitdefender Mobile Security & Antivirus 3.0.135
- Cheetah Mobile Clean Master 2.6.8
- Cheetah Mobile CM Security Antivirus 5.10.3
- ESET Mobile Security & Antivirus 3.0.1318
- G Data Internet Security 25.8.3
- Kaspersky Internet Security 11.8.4.625
- McAfee Security & Antivirus 4.4.0.467
- Sophos Free Antivirus and Security 5.0.1515
- Tencent Mobile Manager 5.6.0
- Trend Micro Mobile Security & Antivirus 6.0
เตรียมพร้อมก่อนการทดสอบ
- ทดสอบบนสมาร์ทโฟน LG Nexus 5 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 5.1.1 (เวอร์ชันล่าสุดขณะทดสอบ)
- ทดสอบโซลูชันความปลอดภัยทั้งหมด 16 โซลูชัน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2015
ทดสอบการกินแบตเตอรี่
AV-Comparatives ทดสอบการกินแบตเตอรี่ของแต่ละโซลูชันโดยอ้างอิงจากค่าเฉลี่ยการใช้งานจริงในชีวิตประจำวันตามข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในปี 2012 ดังนี้
- คุยโทรศัพท์ 30 นาที
- ดูรูปภาพ 82 นาที
- เล่นอินเตอร์เน็ตผ่าน Android Browser 45 นาที
- ดู Youtube ผ่านแอพพลิเคชัน Youtube 17 นาที
- ดูวิดีโอที่บันทึกไว้บนอุปกรณ์ 13 นาที
- รบส่งอีเมลล์ผ่านทาง Google Mail Client 2 นาที
- เปิดไฟล์เอกสารที่เก็บไว้บนอุปกรณ์ 1 นาที
ผลลัพธ์ของการทดสอบเป็นดังนี้
จะเห็นว่าแต่ละผลิตภัณฑ์แทบไม่ก่อให้เกิดภาระแก่แบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟนเลย เว้นแต่ McAfee ที่จะกินแบตเตอรี่อย่างเห็นได้ชัดเมื่อมีการเล่นอินเตอร์เน็ต ซึ่งทาง McAfee ได้ตรวจสอบและแจ้งกลับมาแล้วว่า เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเปิดหลายๆแท็บบนเว็บเบราเซอร์เท่านั้น
ทดสอบการป้องกันมัลแวร์
- มัลแวร์ที่ใช้ทดสอบ ถูกรวบรวมก่อนการทดสอบไม่กี่สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 2,365 ชนิด
- ทุกผลิตภัณฑ์ถูกอัพเดทซอฟต์แวร์และฐานข้อมูลเป็นเวอร์ชันล่าสุดก่อนการทดสอบ
- ทดสอบด้วยการสแกนเครื่องก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์ก่อนเริ่มทดสอบ หลังจากนั้นจะทำการติดตั้งแอพพลิเคชันที่เป็นมัลแวร์ลงไป เพื่อทดสอบการตรวจจับแบบเรียลไทม์
- มีการทดสอบ False Positive โดยการติดตั้งแอพพลิเคชันจาก Google Play และ 3rd Party
ผลลัพธ์ของการทดสอบเป็นดังนี้
จะเห็นว่าผลการป้องกันมัลแวร์ของแต่ละผลิตภัณฑ์อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก คือ มากกว่า 98% และมีเพียงไม่กี่ผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่แจ้งเตือนผิดพลาดหลายรายการ
คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการป้องกันมัลแวร์และแอพพลิเคชันปลอม
- ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันจาก Google Play หรือบริษัทที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
- อ่านรีวิวของแอพพลิเคชันนั้นๆเพื่อดูว่ามีสิ่งผิดปกติ หรือช่องโหว่ใดๆหรือไม่
- หลีกเลี่ยงการแชร์ไฟล์ระหว่างเครื่องผ่านทาง Bluetooth, Wi-Fi หรือ Card Reader
- กำหนดสิทธิ์ของแอพพลิเคชันที่ติดตั้งให้เหมาะสม เช่น แอพสำหรับวัดความเร็วและระยะทางในการเคลื่อนที่จะต้องไม่ร้องขอการเข้าถึงสมุดโทรศัพท์ หรือข้อมูลการรับสาย เป็นต้น
- ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส และหมั่นทำการตรวจสอบอยู่เสมอ
นอกจากการทดสอบการกินแบตเตอรี่และการป้องกันมัลแวร์ AV-Comparatives ยังมีการรีวิวฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การติดตั้ง, การป้องกัน, ประสิทธิภาพ, การเลิกใช้งาน, พื้นที่ที่ใช้, การป้องกันขโมย, การรักษาความเป็นส่วนบุคคล และอื่นๆ โดยผู้ที่สนใจสามารถอ่านรีวิวฉบับเต็มได้ที่: http://www.av-comparatives.org/wp-content/uploads/2015/09/avc_mob_2015_en.pdf