ลิสต์อีเมลของ Ethereum ถูกเจาะ ผู้ใช้กว่า 35,000 รายเสี่ยงถูกดูดเงินคริปโต

Ethereum ออกมาแจ้งเตือนผู้ใช้หลังพบว่าแพลตฟอร์มลิสต์อีเมลของ Ethereum ถูกแฮ็กเกอร์โจมตี และมีการส่งอีเมล Phishing ไปยังผู้ใช้กว่า 35,000 ราย เพื่อหลอกดูดเงินคริปโตผ่านทางเว็บไซต์ที่รัน Crypto Drainer เคราะห์ดีที่ยังไม่พบผู้ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีดังกล่าว

Ethereum พบว่าการโจมตีเกิดขึ้นเมื่อกลางดึกของวันที่ 23 มิถุนายน (ตามเวลาท้องถิ่น) โดยมีการส่งอีเมล Phishing ออกไปยังลิสต์อีเมลรวม 35,794 รายในนาม updates@blog.ethereum.org โดยลิสต์อีเมลเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากอีเมลที่แฮ็กเกอร์ Import เข้าไป และมีบางส่วน (3,759 ราย) มาจากอีเมลที่แฮ็กเกอร์ Export ออกมาจากแพลตฟอร์มลิสต์อีเมลของ Ethereum เอง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบอีเมลทั้ง 2 ชุดด้วยกันแล้ว พบว่ามีเพียง 81 อีเมลเท่านั้นที่เป็นอีเมลใหม่สำหรับแฮ็กเกอร์

Credit: Ethereum Blog

อีเมล Phishing ที่ส่งออกไปมีเนื้อหาหลอกให้ผู้รับมาร่วมลงทุนและรับผลตอบแทนเพิ่มเติม เมื่อผู้ใช้กดปุ่มลิงก์ จะถูกส่งไปยังเว็บปลอมที่ถูกออกแบบมาได้อย่างแนบเนียนและดูน่าเชื่อถือ แต่เบื้องหลังแอบรัน Crypto Drainer สำหรับดูดเงินผู้ใช้ที่หลงเชื่อและทำการเชื่อมต่อ Wallet ของตนเองและตอบรับการทำธุรกรรม

Credit: Ethereum Blog

Ethereum ได้ให้ทีมรักษาความมั่นคงปลอดภัยดำเนินการสืบสวนการโจมตีดังกล่าวเพื่อตามตัวคนร้าย ค้นหาเป้าหมาย ตรวจสอบไทม์ไลน์ที่เกิดขึ้น และติดตามผลกระทบกับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปิดกั้นการส่งอีเมลใดๆ เพิ่มเติม ขอความร่วมในการในบล็อกลิงก์ที่ผูกกับ Wallet และแจ้งเตือนไปยังผู้ติดตามใน Community

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า จนถึงตอนนี้ยังไม่มีผู้รับคนใดตกเป็นเหยื่อของอีเมล Phishing ดังกล่าว

ที่มา: Ethereum Blog

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

แชทหลุดทำเนียบขาว: แผนสงครามเยเมนถูกแชร์ให้บรรณาธิการ The Atlantic ผ่าน Signal

สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (National Security Council – NSC) ประกาศว่ากำลังตรวจสอบเหตุการณ์ที่ Jeffrey Goldberg บรรณาธิการบริหารของ The Atlantic ถูกเพิ่มเข้าไปในกลุ่มแชท Signal โดยไม่ตั้งใจ …

[Video Webinar] เผยจุดบอด ลดความหัวร้อน ด้วย Deep Observability จาก Gigamon

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย “เผยจุดบอด ลดความหัวร้อน ด้วย Deep Observability” พร้อมเรียนรู้กลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติในการตรวจจับภัยไซเบอร์บน East-West Traffic บนระบบ Hybrid Cloud ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ