แนะนำ 3 เกมที่ทำให้ภาษา Assembly เป็นเรื่องสนุก

ทุกวันนี้โลกของการเขียนโปรแกรมนั้นเป็นโลกของภาษาขั้นสูง (High-level languages) เสียเป็นส่วนใหญ่จนอาจทำให้ผู้คนลืมเลือนความยุ่งยากของภาษาอย่าง Assembly ไป แต่ถ้าหากอยากลองหวนสู่อดีตสักหน่อยเล่า? IEEE Spectrum หยิบยก 3 เกมที่ทำให้การโค้ดในภาษา Assembly เป็นเรื่องสนุกมาแนะนำให้ได้เล่นกัน

หมายเหตุ: ไม่มีการเขียนโค้ดเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์จริงจังในทั้ง 3 เกมนี้ แต่เป็นเกมที่รวบรวมคอนเซปต์และจุดสำคัญในการเขียน Assembly แฝงไว้ในการเล่น

Human Resource Machine

แพลตฟอร์ม: Windows, Mac, Linux, Nintendo Switch

เกมนี้ผู้เล่นรับบทบาทพนักงานออฟฟิศผู้ต้องรับมือกับบรรดาตัวเลขและตัวหนังสือที่เคลื่อนเข้ามาบนสายำาน “in” แล้วส่งต่อไปยังสายพาน “out” ให้ได้ เกมเริ่มต้นที่คำสั่งง่ายๆ 2 คำสั่ง และเมื่อผ่านด่านไปเรื่อยๆ ผู้เล่นจะได้รับคำสั่งเพิ่มเพื่อต่อกรกับปัญหาที่ยากขึ้น เช่นการ sort

ดูเผินๆเกมนี้อาจเหมือนเกมลับสมองทั่วไป แต่หากลองสังเกตดูดีๆแล้วก็จะรู้ว่าบทบาทพนักงานออฟฟิศที่ผู้เล่นได้รับนั้นก็คือบทบาทของ register ที่ทำการจัดการกับของที่อยู่ใน RAM (ห้องในออฟฟิศ) นั่นเอง สำหรับผู้เริ่มต้น เกมนี้จะช่วยอธิบายการทำงานภายในของหน่วยประมวลผลและปฏิบัติการณ์ทางคอมพิวเตอร์แบบพื้นฐานได้อย่างดีทีเดียว

TIS-100

แพลตฟอร์ม: Windows, Mac, Linux, iPad

เกมนี้ผู้เล่นสวมบทหลานผู้ได้รับคอมพิวเตอร์ TIS-100 มาจากคุณลุง Randy เมื่อผู้เล่นทำการแก้ไขปัญหาตามเนื้อเรื่องด้วย Assembly ไปเรื่อยๆ ก็จะได้รับคำบอกใบ้ถึงหน้าที่ที่แท้จริงของคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ TIS-100 มีสถาปัตยกรรมแบบคู่ขนานที่ทำงานโดยการส่งและรับข้อความระหว่าง node ต่างๆ ทำให้ผู้เล่นต้องใช้ Assembly ในการควบคุมแต่ละ node เพื่อฝ่าฟันปริศนาไปเรื่อยๆ

Shenzhen I/O

แพลตฟอร์ม: Windows, Mac, Linux

เกมนี้มีฉากหลังเป็นเมืองเซินเจิน แหล่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ในจีน ผู้เล่นรับบทวิศวกรไฟฟ้าผู้ถูกจ้างมาเพื่อสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามคำสั่ง ผู้เล่นต้องใช้โค้ด Assembly ในการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เช่นวิทยุและหน้าจอ เข้าด้วยกัน เพื่อให้อุปกรณ์ที่สร้างออกมานั้นสามารถรับ input และมี output ตรงตามที่เกมกำหนดไว้

 

ที่มา: http://spectrum.ieee.org/geek-life/reviews/three-computer-games-that-make-assembly-language-fun

Check Also

การแข่งขันด้านดิจิทัลในประเทศไทย: พร้อมที่จะขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จหรือไม่ [PR]

บทความโดย: นางสาวกนกกมล เลาหบูรณะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด

Graphite สตาร์ทอัพ AI ผู้ช่วยเขียนโค้ด ระดมทุน 52 ล้านดอลลาร์ มุ่งรักษาความเป็นผู้นำในการแข่งขัน

สตาร์ทอัพด้านการรีวิวโค้ดด้วยปัญญาประดิษฐ์ Graphite หรือที่รู้จักในชื่อทางการว่า Screenplay Studios ประกาศว่าระดมทุนได้ 52 ล้านดอลลาร์ในรอบ Series B ที่นำโดย Accel และได้รับการสนับสนุนจาก Menlo Ventures …