IBM Flashsystem

แนะนำ RUCKUS T670 – Outdoor AP Wi-Fi 7 ระดับองค์กรตัวแรกของโลก

บริการ Wi-Fi สำหรับพื้นที่เปิดนอกอาคารมีความท้าทายที่แตกต่างกับการใช้งานในพื้นที่ปิดเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ความหลากหลายของกิจกรรม อุปกรณ์ จำนวนคน และลักษณะของพื้นที่ ซึ่งทำให้ AP ต้องมีความสามารถที่ครอบคลุมในหลายด้านทั้งการรักษาประสิทธิภาพ ลดสัญญาณรบกวน รวมไปถึงวิธีการบริหารจัดการ

โดย RUCKUS T670 AP คือโซลูชันนอกอาคารระดับองค์กรตัวแรกของโลกที่ถูกออกแบบมาเพื่อหน้าที่นี้โดยเฉพาะ ในบทความนี้เราจะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ RUCKUS T670 กันให้มากขึ้น

การให้บริการ Wi-Fi ในพื้นที่นอกอาคารมีความหลากหลายทางธุรกิจสูงมาก ยกตัวอย่างเช่น

  • สนามกีฬา คือสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมากรวมตัวกัน ซึ่งความท้าทายคือจะทำอย่างไรให้บริการ Wi-Fi สามารถรองรับการเชื่อมต่อจากผู้คนจำนวนมากได้ อย่างเหมาะสม
  • ธุรกิจบริการ โรงแรม โรงเรียน ร้านอาหาร อาจมีพื้นที่นอกอาคารขนาดใหญ่ตามแต่ขนาดธุรกิจ โดยจุดใช้พื้นที่บริการ Wi-Fi อาจไม่ได้มีความเข้มข้นมากนัก แต่กลับสำคัญกว่าธุรกิจใด เพราะนี่คือความประทับใจที่ธุรกิจถูกคาดหวังในบริการ ดังนั้นการให้บริการต้องครอบคลุมพื้นที่ และสร้างประสบการณ์ที่ดีไปพร้อมๆกัน
  • พื้นที่เมือง Wi-Fi ในพื้นที่เมืองสามารถสร้างประโยชน์ได้มากมาย อย่างการบริหารจัดการการจราจร และความปลอดภัยในชีวิต จากการเชื่อมต่อกับกล้องวงจรปิด เซ็นเซอร์ติดตามต่างๆ ไปจนถึงจอแสดงผลข้อมูลให้ประชาชน
  • สวนสาธารณะและพื้นที่สันทนาการ สถานที่พักผ่อนเหล่านี้ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ ทั้งยังเสริมสร้างร่างกายและจิตใจ อาจถูกพัฒนาให้มีการให้บริการ Wi-Fi ได้ เพื่อรองรับอุปกรณ์ IoT ควบคุมสภาพแวดล้อม หรือการให้ผู้คนได้เพิ่มความบันเทิงจากอินเทอร์เน็ตไปด้วย

หากพิจาณาจากความหลากหลายของพื้นที่ ผู้คน และกิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้น จะเห็นได้ว่า Outdoor AP มีความท้าทายรออยู่ไม่น้อย ซึ่งต้องรองรับทั้งด้านความเข้มข้นของสัญญาณ ความเร็ว คุณภาพ สเถียรภาพ และความแข็งแกร่งทนทาน โดย RUCKUS T670 เกิดขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

credit : Ruckus

การเชื่อมต่อ

  • มีพอร์ต 1/2.5/5 GbE จำนวน 1 พอร์ต และ 1 GbE 1 พอร์ต
  • รองรับมาตรฐาน Wi-Fi 7 ที่เพิ่งออกมาล่าสุด และ IEEE 802.11 a/b/g/n/ac/ax
  • รองรับการทำ Mesh Networking ซึ่งในอดีตอาจไม่ได้รับความนิยมมากนักด้วยประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายไร้สายที่ยังไม่สูงมาก แต่ด้วยมาตรฐานปัจจุบันทำให้ Mesh Networking ตอบโจทย์ได้ และการเปิดใช้งานบน Ruckus ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย
  • รองรับการเชื่อมต่อพร้อมกันได้ถึง 768 Concurrent
  • รองรับความถี่ถึง 3 ย่านคือ 2.4 / 5 / 6 GHz (Tri-band) โดยให้ความเร็วในส่งข้อมูลรวมได้ถึง 9.336 Gbps และแบบ 2 ช่องสัญญาณที่ 2.4 และ 5 GHZ (Dual-band) ให้ความเร็วในส่งข้อมูลรวมได้ถึง 6.454 Gbps
  • Multi-Link Operation (MLO) ถูกกล่าวถึงในฟีเจอร์ของ Wi-Fi โดยช่วยให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลได้หลายๆ ลิงก์พร้อมกัน เพิ่มประสิทธิภาพของ Throughtput, Latency และเพื่อสเถียรภาพในการใช้งาน นี่เองคืออีกกลไกสำคัญหนึ่งที่สามารถรับมือกับการใช้งานที่มีผู้ใช้จำนวนมาก เช่น สนามกีฬา เป็นต้น

คุณสมบัติเชิงกายภาพ

  • ผ่านการทดสอบมาตรฐาน IP-67 ที่ว่าด้วยเรื่องของการป้องกันในสภาพแวดล้อมภายนอก
  • ทนอุณหภูมิจากสภาพอากาศได้ตั้งแต่ -40 ถึง 65 องศาเซลเซียส ที่เพียงพอในแทบทุกสภาพแวดล้อม
  • ติดตั้งได้หลายรูปแบบ ทั้งการยึดติดกับเสา กำแพง แขวนลอย โดยเฉพาะการออกแบบกับการทำงานในสนามกีฬา
  • รองรับการกระแสไฟแบบ PoE ผ่านทางพอร์ต 5 GbE หรือจะต่อไฟแบบ DC จากภายนอกก็ได้

BeamFlex เป็นเทคโนโลยี Adaptive Antenna พร้อมการทำ Polarization Diversity ซึ่งช่วยให้เสาสัญญาณของ Ruckus สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับส่งสัญญาณได้มากกว่า 4,000 แบบ ในแต่ละย่านสัญญาณ ทำให้มีการส่งได้หลายแกนและพุ่งเป้าไปหาผู้ใช้งานอย่างเฉพาะเจาะจงเหมาะกับอุปกรณ์นั้นๆ

โดยอัลกอริทึมซอฟต์แวร์ของ Ruckus จะทำการประเมินเส้นทางการส่งที่ดีที่สุดแต่ละแพ็กเกจเลยทีเดียว ซึ่งมีการพิจารณาค่าที่เชื่อมโยงเพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพเช่น อัตราการส่งข้อมูล อัตราความล้มเหลว และค่าประมาณการพิกัด เพื่อจัดรูปแบบเสาให้รับกับผู้ใช้ ณ ตำแหน่งในช่วงเวลาใดๆ ด้วยการพิจารณาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การที่ BeamFlex คำนึงถึงค่า RF Energy ให้ไกลจากทิศทางที่มีการรบกวนมีประโยชน์ทั้งต่อการเพิ่มพลังของสัญญาณและลดทอนการรบกวนไปพร้อมกัน

แนวทางนี้เองที่ทำให้ Ruckus ได้ถูกเลือกนำไปใช้งานในการติดตั้งของหลายธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งต้องการความครอบคลุมของสัญญาณภายในอาคาร โดยเมื่อออกแบบระบบเครือข่ายไร้สายด้วย Ruckus ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการแล้ว หลายครั้งก็จะพบว่า Ruckus นั้นสามารถออกแบบระบบได้โดยใช้จำนวน Access Point ที่น้อยกว่าโดยทั่วไป ก็เป็นผลมาจากการใช้ BeamFlex นั่นเอง

นอกจากนี้ ChannelFly จะช่วยให้สามารถเลือกใช้ช่องสัญญาณที่ว่างมากที่สุดเพื่อเลี่ยงการรบกวนกัน ด้วยการแสกนหา RX ของ AP ข้างเคียงว่าช่องสัญญาณใดทับซ้อนน้อยที่สุด ร่วมกับปัจจัยอื่นๆตามอัลกอริทึม เพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นได้รับ Throughput ที่สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ในการเชื่อมต่ออยู่เสมอ

Ruckus T670 สามารถเลือกบริหารจัดการได้ทั้งในรูปแบบ On-premise หรือคลาวด์ โดย Ruckus One คือทางเลือกในรูปแบบหลังที่มาพร้อมกับความสามารถในการจัดการอย่างชาญฉลาดด้วยเทคโนโลยี AI

Ruckus AI คือเทคโนโลยีที่ช่วยพลิกโฉมการทำงานของผู้ดูแลระบบเครือข่ายไปโดยสิ้นเชิง ด้วยการอำนวยความสะดวกหลายด้าน เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่าย พร้อมคำแนะนำให้การแก้ไขปัญหา ตลอดจนการแสดงภาพรวมที่เข้าใจได้โดยง่ายผ่าน Dashboard ทำให้ผู้ดูแลสามารถรักษา SLA ที่คาดหวังได้ นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยที่เรียกว่า Melissa ที่ท่านสามารถสอบถามข้อมูลด้วยภาษามนุษย์ได้ง่ายๆด้วย

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ RUCKUS T670 ได้ที่ https://www.ruckusnetworks.com/products/wireless-access-points/t670/

สนใจโซลูชัน Wi-Fi สำหรับธุรกิจองค์กร ติดต่อ Ruckus Thailand ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชัน Wi-Fi สำหรับธุรกิจองค์กร สามารถติดต่อทีมงาน Ruckus ในประเทศไทยได้ทันทีที่คุณพงษ์วุฒิ อัศนีวุฒิกร BUSINESS DEVELOPMENT MANAGER Email: Pongwut.assaneewuttikorn@Commscope.com

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Gigamon เปิดตัว AI Traffic Intelligence ตรวจจับ Shadow AI พร้อม Copilot ช่วยจัดการระบบ

Gigamon เปิดตัว AI Traffic Intelligence ที่มองเห็นการใช้งาน GenAI และ LLM จาก 17 engines ชั้นนำ พร้อม GigaVUE-FM …

HPE เปิดตัวโซลูชัน AI Factory ใหม่ร่วมกับ NVIDIA Blackwell รองรับองค์กรทุกขนาด

HPE ประกาศเปิดตัวโซลูชัน AI Factory ชุดใหม่ที่ใช้ NVIDIA Blackwell GPUs พร้อม HPE Private Cloud AI รุ่นใหม่ และ …