CDIC 2023

การใช้ IoT เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้องค์กร

ทุกวันนี้เราอาจจะมองว่าอุปกรณ์ IoT เป็นช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยเสียมากกว่าแต่อย่างไรก็ตามมีความเห็นต่างจาก นาย Tim Lang หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการและประธานอวุโสจาก MicroStrategy บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้าน BI และ Data Analytics ได้มีความเห็นว่าอุปกรณ์ IoT สำหรับการใช้ในองค์กร (Enterprise IoT) จะสามารถนำไปใช้เพื่อติดตามและป้องกันก่อนจะเกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลได้

Credit: ShutterStock.com

มีการคาดการณ์จาก McKinsey  อ้างถึงว่า 10 ปีข้างหน้า 70% ของคุณค่าที่เกิดจาก IoT จะเกิดจากใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันประเภท Business-to-Business (B2B) โดยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ IoT ในด้านความมั่นคงปลอดภัยได้ เช่น ลดความเสี่ยงความมั่นคงปลอดภัยภายใน

Lang กล่าวว่า “IoT สามารถนำไปใช้ ติดตามบุคคล หรือ การเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าในระบบที่ลับสุดยอดโดยข้อมูลนี้มีคุณค่ามากกับทีมงานเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของฐานข้อมูล” ซึ่ง EIoT นี้ให้ผลดีกว่าการใช้เพียงแค่รหัสผ่านแบบเดิมๆ ที่ต้องคอยอัปเดตและเสี่ยงต่อการสูญหายและรั่วไหลอีกด้วย นอกจากนี้  Lang ยังเสริมว่า “ในโลกทุกวันนี้องค์กรไม่สามารถรอตั้งรับเพียงอย่างเดียวแต่ต้องรุกกลับไปบ้าง นอกจากนี้การใช้ EIoT จะช่วยให้องค์กรสามารถลดภัยคุกคามก่อนที่มันจะเกิดขึ้น เช่น หากได้รับข้อมูลแจ้งเตือนถึงกิจกรรมในระบบที่เกิดขึ้นนอกองค์กร คุณจะสามารถเห็นได้ทันทีว่าบุคคลนั้นเป็นใครและทำอะไรอยู่ เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป

การใช้งาน EIoT เช่น การนำเซนเซอร์และตัวเชื่อมต่อไปติดที่อุปกรณ์ต่างๆ นำมาสู่คอนเซปต์ที่เรียกว่า ‘Digital Twins’ หมายถึงตัวแทนของอุปกรณ์จริงในโลกเสมือน ซึ่งทาง MicroStrategy ได้ประยุกต์ใช้งานคอนเซปต์นี้กับคนทั่วไปจนเกิดเป็น ‘Digital Badge’ หรือที่เรียกว่า Usher คือพนักงานพกเซนเซอร์เพื่อติดตามตัวได้โดย Digital Badge ถูกใช้เพื่อยืนยันตัวตนกับระบบ ว่าพนักงานเดินไปที่ไหนทำอะไรอยู่แบบ Real Time ซึ่งข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงปลอดภัยรวมถึงการวิเคราะห์อื่นๆ เช่น นายจ้างสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของลูกจ้างและกิจกรรมที่ทำ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจได้

ที่มา : https://www.networkworld.com/article/3243687/internet-of-things/can-iot-help-make-the-enterprise-more-secure.html


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

‘ซิสโก้’ กำหนดนิยามใหม่ “การป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์” ด้วยพอร์ตฟอลิโอ AI ที่หลากหลายและทรงพลัง [Guest Post]

ซิสโก้ ผู้นำด้านระบบเครือข่ายและการรักษาความปลอดภัยระดับองค์กร เปิดตัว Cisco AI Assistant for Security ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการทำให้ AI แพร่หลายใน Security Cloud, Unified ของซิสโก้, …

NCSA แนะ 7 แนวทางยกระดับทักษะ Cybersecurity  พร้อม PDPC ชี้กฎหมายลำดับรองจะบังคับใช้มากขึ้น

โลกยุคดิจิทัลที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด กดผิดเพียงแค่คลิกเดียวก็อาจจะทำให้ถูกขโมยเงิน หรือองค์กรถูกโจมตีโดนละเมิดข้อมูลไปได้ง่าย ๆ เช่นนี้เอง เรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) จึงเป็นเรื่องของ “ทุกคน” ในทุกองค์กรที่ต้องให้ความสำคัญ นอกจากเรื่องเทคโนโลยีที่ใช้งานแล้ว ในเรื่องทักษะของ “คน” คือสิ่งที่ต้องเรียนรู้อัปเดตให้เท่าทันกับรูปแบบการโจมตีใหม่ ๆ …